ปัจจัยของการกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศในสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

Authors

  • เกสรา ศรีพิชญาการ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สิริยาภรณ์ เจนสาริกา อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

Keywords:

ปัจจัย, การกล้าแสดงออกในสิทธิโดยทั่วไป, ความตระหนักในสิทธิทางเพศ, การกล้าแสดงออกในสิทธิ ทางเพศ และสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น, Factors, general assertiveness, sexual awareness, sexual assertiveness, and young adult women

Abstract

สตรีประสบกับปัญหาสุขภาพทางเพศอันเนื่องมาจากความยากลำบากในการแสดงออกเพื่อรักษาสิทธิทางเพศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยทำนายของการกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศในสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น รับสมัครกลุ่มตัวอย่างจากหน่วยวางแผนครอบครัวในจังหวัดเชียงใหม่และนครสวรรค์ด้วยวิธีตามสะดวก เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อรวบรวมลักษณะทั่วไปและอนามัยการเจริญพันธุ์ แบบวัดการกล้าแสดงออกโดยทั่วไป แบบวัดความตระหนักในสิทธิทางเพศ และแบบวัดการกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศ (ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอน-บาค=.66  .68  .72) จำนวนตัวอย่างเท่ากับ 289 (อายุเฉลี่ย 33.3) จากสถิติไคสแควร์ การกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศต่ำในกลุ่มอายุน้อย การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้น้อย ทำงานในหน่วยงานที่ไม่ใช่ของรัฐ พักอาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ดำรงชีวิตแบบคนชนบท มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อย มีสถานภาพสมรสคู่ ไม่พึงพอใจในความสัมพันธ์ ถูกคู่ทำร้ายจิตใจ ร่างกาย หรือทางเพศ มีการกล้าแสดงออกในสิทธิโดยทั่วไปต่ำ หรือมีความตระหนักในสิทธิทางเพศต่ำ จากสถิติถดถอยโลจิสติกปัจจัยทำนายการกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศ ได้แก่ จังหวัดที่พักอาศัยอยู่ การถูกคู่ทำร้ายจิตใจ และ ความตระหนักในสิทธิทางเพศ (OR=2.9, 0.3, 6.7) โดยมีอำนาจทำนายร้อยละ 78.1 ข้อเสนอแนะคือ สตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีการกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศต่ำควรได้รับการฝึกฝนทักษะการกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศ ทั้งนี้การเข้าถึงสตรีกลุ่มนี้อาจจะประเมินจากปัจจัยเสี่ยงที่สำรวจพบในการวิจัยครั้งนี้


FACTORS PREDICTING SEXUAL ASSERTIVENESS IN YOUNG ADULT WOMEN

Women have sexual health problems due to the difficulties in asserting their sexual rights. This study aimed to identify factors of sexual assertiveness (SA) in young adult women. The subjects were recruited from family planning clinics located in Nakorn Sawan province, and Chiang Mai province through a convenience sampling technique. Research instruments included a general and reproductive characteristics data sheet, general assertiveness scale, sexual awareness scale, and sexual assertiveness scale (The Cronbach’s alpha coefficient values=.66, .68, .72). Sample size was 289 (average age = 33.3). Through a Chi-square test, a low level of SA was found in the women with the following characteristics: young age, lower education than bachelor degree, low personal income, working in a non-government sector, residing in Nakorn Sawan province, rural lifestyle, young at the first sexual intercourse, getting married, relationship dissatisfaction, being mentally, physically, or sexually abused by a partner, low general assertiveness, or low sexual awareness. Through logistic regression, provincial residence, mental partner abuse, and sexual awareness were able to predict SA (OR=2.9, 0.3, 6.7) with a predicting power of 78.1%. It is suggested that young adult women with low SA should obtain SA skill-training. To reach these women, the women may be assessed from risk factors found in this study.

Downloads

How to Cite

ศรีพิชญาการ เ., ณ อยุธยา อ. อ., & เจนสาริกา ส. (2016). ปัจจัยของการกล้าแสดงออกในสิทธิทางเพศในสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. Journal of Public Health Nursing, 28(2), 65–80. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48337