ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างเสริมสวย ในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • พรแก้ว เหลืองอัมพร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 49 วัดชัยพฤกษมาลา กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
  • แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สรา อาภรณ์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี, ช่างเสริมสวย, ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, Preventive behaviors from chemical hazards, hairdressers, protection motivation theory

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างเสริมสวยในกรุงเทพมหานคร โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของโรเจอร์ส กลุ่มตัวอย่างเป็นช่างเสริมสวยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการทำงานของช่างเสริมสวย พบอาการทางระบบทางเดินหายใจมากที่สุดร้อยละ 49.85 ช่างเสริมสวยมีพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีโดยรวม อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ79.5) และพบว่าเพศ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว ความเพียงพอของรายได้ ประสบการณ์การได้รับอันตรายจากสารเคมี ขนาดธุรกิจ และการจัดให้มีการป้องกันอันตรายจากสารเคมีภายในร้านที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05) การรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการได้รับอันตรายจากสารเคมี ความคาดหวังในประสิทธิผลและความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี (r = .121, .145, .172, .305, p-value <.05) และพบว่าการจัดให้มีการระบายอากาศภายในร้าน ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง การจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การจัดให้มีการระบายของเสียและขยะ และโรคประจำตัว สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างเสริมสวยได้ร้อยละ 30.8

ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาครั้งนี้ หน่วยงานด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของช่างเสริมสวยซึ่งถือเป็นแรงงานนอกระบบ โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพ การสนับสนุนให้ระบบอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

 

FACTORS RELATED TO PREVENTIVE BEHAVIORS FROM CHEMICAL HAZARDS AMONG HAIRDRESSERS IN BANGKOK

This research is a cross-sectional descriptive study aimed to examine the factors related to preventive behaviors from chemical hazards among hairdressers in Bangkok by applying the Protection Motivation Theory. There were 380 subjects, selected by multiple stratified random sampling. The data were collected by interview, and data analysis was done by using descriptive statistics, t-test, One-way ANOVA, Pearson’s Correlation Coefficients. The results showed the most frequency of health problems regarding chemical used was in respiratory system (49.85%). Their preventive behaviors from chemical hazards were at a high level (79.5%). The differences in gender, education, adequacy of income, preventive welfare, self experience in suffering from contacting and the underlying disease affected the hairdressers’ preventive behaviors with statistical significant (p-value <.05).  Perception of severity and the susceptibility for chemical hazards, response efficacy and self-efficacy expectancy to preventive behaviors from chemical hazards were positively related to preventive behaviors from chemical used (r =.121, .145, .172, .305, p-value <.05). Stepwise multiple regressions revealed that ventilation, self-efficacy, providing personal protective equipment, providing waste disposal and illness can predict preventive behaviors from chemical hazards among hairdressers 30.8 %.

The health organizations should pay attention to the hairdressers’ health classified as self-employed workers. The checkup program for hairdressers should be provided. The system and equipment regarding chemical hazard prevention in hairdressers’ salon should be supported. Also the self-efficacy expectancy to preventive behaviors from chemical hazards among the hairdressers should be increased.

Downloads

How to Cite

เหลืองอัมพร พ., จิระพงษ์สุวรรณ แ., กลัมพากร ส., & อาภรณ์ ส. (2016). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างเสริมสวย ในกรุงเทพมหานคร. Journal of Public Health Nursing, 28(2), 51–64. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48334