โปรแกรมส่งเสริมการป้องกันการดื่มสุราในวัยรุ่นตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว

Authors

  • ผกามาส สายคำฟู พยาบาลวิชาชีพ การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันเพ็ญ แก้วปาน รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

วัยรุ่นตอนต้น, การส่งเสริมการป้องกันการดื่มสุรา, การมีส่วนร่วมของครอบครัว, Early adolescent, alcohol consumption prevention, family participation

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันการดื่มสุราในวัยรุ่นตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดลำปาง เขต 1 สังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ เป็นระยะทดลอง 4 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ ใช้แนวคิดทฤษฎีแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เครื่องมือประกอบด้วยการรับรู้เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงของการดื่มสุรา การรับรู้เกี่ยวกับความรุนแรงของการดื่มสุรา การรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการไม่ดื่มสุรา การรับรู้อุปสรรคของการไม่ดื่มสุรา การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากการดื่มสุรา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test, Repeated Measure One-way ANOVA, Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ในระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการดื่มสุรา การรับรู้ความรุนแรงของการดื่มสุรา การรับรู้ประโยชน์ของการไม่ดื่มสุรา การรับรู้อุปสรรคของการไม่ดื่มสุรา การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากการดื่มสุรา ไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > .05) และ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล (p-value > .05)

ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าโปรแกรมที่ประยุกต์แบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว อาจไม่ส่งผลต่อการป้องกันการดื่มสุราของวัยรุ่นตอนต้นได้

 

ALCOHOL CONSUMPTION PREVENTION WITH FAMILY PARTICIPATION PROGRAMIN EARLY ADOLESCENTS

This quasi-experimental research aimed to study effect of alcohol consumption prevention with family participation program in early adolescents. The study group is junior high school 1-2 in opportunities education school from Lampang province extended opportunities education school. The experimental and control group was randomly selected as 30 persons per group. Study duration was 8weeks which was divided to experiment for 4 weeks and follow up for 4 weeks. The study applied Health Belief Model with family participation to enhance perceived self-efficacy and alcohol consumption prevention. Collecting data by self-administered questionnaire including perceived susceptibility of drinking alcohol, perceived severity of drinking alcohol, perceived benefits of no drinking alcohol, perceived barriers of no drinking alcohol, self -efficiency for avoid from drinking alcohol and how to protect themselves from drinking alcohol.  Data were analyzed by using percentage, Average arithmetic mean. Standard deviation Independent t-test, Repeated Measure One-way ANOVA and Paired T-test.

Result indicated that follow-up period, experimental group had average score of perceived susceptibility of drinking alcohol, perceived severity of drinking alcohol, perceived benefits of not drinking alcohol, perceived barriers of not drinking alcohol, self -efficacy for avoid from drinking alcohol and how to protect themselves from drinking alcohol not differed from before experiment (p-value > .05), and did not higher than those in comparison group both after and follow-up period.(p-value > .05)

The result of research addressed that application of Health Belief Model with family participation might not have effect to prevent early adolescence from drinking alcohol.


Downloads

How to Cite

สายคำฟู ผ., เผ่าวัฒนา อ., ละกำปั่น ส., & แก้วปาน ว. (2016). โปรแกรมส่งเสริมการป้องกันการดื่มสุราในวัยรุ่นตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว. Journal of Public Health Nursing, 28(2), 23–38. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48325