ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน กรุงเทพมหานคร
Keywords:
ความฉลาดทางด้านสุขภาวะ, พฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย, ภาวะโภชนาการเกินในเด็ก, Health literacy, eating and exercise behaviors, overnutritional childrenAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 90 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน ด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพสูงสุด รองลงมาเป็นทักษะการตัดสินใจ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอยู่ระดับมาก ความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน ด้านทักษะการตัดสินใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านทักษะการจัดการตนเองและด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ
THE ASSOCIATIONS BETWEEN HEALTH LITERACY RELATED TO OBESITY AND HEALTH BEHAVIOR: EATING AND EXERCISE IN OVERNUTRITIONAL CHILDREN, BANGKOK
The purpose of this study was to investigate health literacy related to obesity , eating and exercise behaviours , and associations between health literacy related to obesity and eating and exercise behaviors of Grade 7 (Matthayom 1) overnutritional students in Bangkok. Ninety participants were purposively recruited to participate in this research. Questionnaires were used to assess participants’ general information, health literacy related to obesity, eating and exercise behaviors. By utilizing statistical analysis, According to the health literacy related to obesity, access skill had the highest average score than decision skill respectively. Eating and exercise behaviors scores were high. Decision skill in health literacy related to obesity was significantly correlated to eating behavior at p-value < .05. Self management skill and media literacy skill were significantly correlated to exercise behavior at p-value < .01and p-value < .05 respectively.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)