ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยง

Authors

  • ฐานดา เกียรติเกาะ นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การถูกล่วงละเมิดทางเพศ, การป้องกัน, วัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยง, Sexual Abuse, Prevention, Female Teenagers at RIsk

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยง อายุ 11-14 ปี จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 40 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาทักษะการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จำนวน 3 แผน ใช้เวลาฝึกอบรม 3 สัปดาห์และติดตามผลอีก 4 สัปดาห์  เป็นโปรแกรมที่ประยุกต์แนวคิดทักษะชีวิตในการป้องกันภัยทางเพศขององค์การอนามัยโลกร่วมกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการกำหนดสถานการณ์จำลองและการใช้กระบวนการกลุ่ม ประกอบด้วย การบรรยาย การระดมสมอง การอภิปรายกลุ่ม การเล่นเกม การแสดงบทบาทสมมติ เพื่อให้วัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงได้พัฒนาทักษะการตัดสินใจ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสื่อสารและต่อรอง รวมถึงการมีพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิชเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Repeated measure ANOVA, Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการต่อรองและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)

จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดโปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยง สามารถช่วยพัฒนาทักษะและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้

 

THE EFFECTS OF SEXUAL ABUSE PREVENTION PROGRAM FOR FEMALE TEENAGER AT RISK 

This quasi-experimental research is designed to study the effectiveness of a life skills development program for sexual abuse prevention for teenagers at risk in Middle school, Muang district, Nakhon  Ratchasima  provinc. The subjects of the study comprised of 80 female teenagers at risk, aged 11-14 year. Participants were divided into experimental and comparison group, of 40 subjects each. The experimental group was assigned three activities plans of sexual abuse prevention by applying the life skill concepts of WHO and participatory learning technique. The research procedure lasted 3 weeks with a 4 weeks follow – up period. Scenario and group process were organized by using lecture, brainstorming, group discussion, game, role play. in order to develop decision making skills, critical thinking skills, communication skills , negotiation skills to protect themselves from sexual abuse. The data analysis was done by descriptive analysis, and repeated measure ANOVA, Independent t-test, with the p-value at 0.05.

The study results revealed  that after experiment and 4 week follow up, the experimental group had significantly higher scores of decision making skills, critical thinking skills, communication skills , negotiation skills, and sexual abuse prevention behavior, than prior to experimentation and higher than those of  the comparison group (p-value < .001)

In conclusion, The effects of sexual abuse prevention program for female teenager at risk could develop skills and sexual abuse prevention behavior.

Downloads

How to Cite

เกียรติเกาะ ฐ., เอื้อมณีกูล น., ละกำปั่น ส., & เผ่าวัฒนา อ. (2016). ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยง. Journal of Public Health Nursing, 28(1), 55–69. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48309