การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

Authors

  • เพ็ญศร ดำรงจิตติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
  • รสสุคนธ์ ศรีสนิท พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
  • พรเพ็ญ ดวงดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

Keywords:

การพัฒนาแนวปฏิบัติ, ผู้บาดเจ็บรุนแรง, ห้องฉุกเฉิน, ผลลัพธ์ทางคลินิค, Guidelines development, major trauma patients, emergency room, clinical outcomes

Abstract

การช่วยชีวิตเป็นเป้าหมายของการดูแลผู้บาดเจ็บรุนแรงในห้องฉุกเฉิน การมีแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ทีมฉุกเฉินสามารถช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถประเมินสภาพผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นและเตรียมผู้ป่วยเพื่อการรักษาได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัย-ภูเบศร โดยใช้แนวหลักการของหลักฐานเชิงประจักษ์ (Soukup, 2000) การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ (Evidence trigger phase) การพัฒนาแนวปฏิบัติ (Evidence-supported phase) การทดสอบความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ (Evidence-observed phase) และ การใช้แนวปฏิบัติ (Evidence-based phase) จากการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว พบว่า ผลการวิเคราะห์สถานการณ์บ่งชี้ว่าหน่วยงานยังไม่มีแนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่เป็น ลายลักษณ์อักษร การมอบหมายงานยังไม่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำงานโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ส่วนบุคคล เมื่อค้นหาและวิเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์พบว่าควรมีแนวปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การใช้มาตรฐาน ATLS การกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมฉุกเฉิน และการจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ให้พร้อม หลังจากนั้นนำประเด็นดังกล่าวไปสร้างแนวปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงและตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหา รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัด แล้วจึงนำแนวปฏิบัติไปทดสอบ พบว่า ได้ผลดีทั้งในด้านผลลัพธ์ของผู้บาดเจ็บรุนแรง ระยะเวลาที่ใช้ในห้องฉุกเฉินที่สั้นลงและเพิ่มความพึงพอใจของทีมฉุกเฉิน แต่ทีมฉุกเฉินยังมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงเล็กน้อยเกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ หลังการปรับปรุงแล้วจึงนำไปใช้จริง พบว่า ผลลัพธ์ของผู้บาดเจ็บรุนแรงในด้านของความเข้มข้นของออกซิเจนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของทีมฉุกเฉินมากกว่าร้อยละ 90 อยู่ในระดับสูง  สรุปได้ว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลโดยใช้หลักการของหลักฐานเชิงประจักษ์พบว่ามีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้จริง ให้ผลลัพธ์ที่ดีซึ่งสะท้อนคุณภาพการดูแลที่ดีขึ้น

 

DEVELOPMENT OF NURSING PRACTICE GUIDELINES FOR MAJOR TRAUMA PATIENTS IN CHAOPHYA ABHAIBHUBEJHR HOSPITAL 

Saving life is the goal of major trauma patient care in emergency room. An effective nursing practice guideline could help trauma team to work effectively for assessment, management, and further treatment. The objective of this study was to develop a guideline based on evidence-based practice (Soukup, 2000), for major trauma patient care in emergency room at Chaophya Abhaibhubejhr hospital. This nursing practice guideline was developed through 4 phases as situation analysis (Evidence trigger phase), developing guideline (Evidence-supported phase), feasibility test (Evidence-observed phase) and evaluating the guideline (Evidence-based phase). The situation analysis process revealed that there were no nursing practice guideline, no clearly assignment, and the team function was conduction on the basis of individual knowledge and experience. An evidences showed that an effective guideline, composed of Advance trauma Life Support (ATLS) protocol, roles and function assignment, and appropriate equipments and environment preparation, is needed.  After developing the nursing practice guideline and indicators, the feasibility test showed a better patients’ clinical outcomes, a lessen duration in emergency room, and raise the trauma team satisfaction. However, the trauma team suggested a minimal revision. In the evidence-based phase, results showed a statistical significance improvement in clinical outcomes of trauma patients (oxygen saturation). The result also indicated that over 90% of the trauma team had high satisfaction on using the nursing practice guideline. This developed clinical nursing practice guideline based on evidence-based practice could be benefit a good outcome and high quality of care.

Downloads

How to Cite

ดำรงจิตติ เ., ศรีสนิท ร., & ดวงดี พ. (2016). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. Journal of Public Health Nursing, 28(1), 43–54. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48307