ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิเขตภาคกลาง

Authors

  • สุวรีย์ เพชรแต่ง อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชนและจิตเวช มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วันเพ็ญ แก้วปาน รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาธิป ศีลบุตร อาจารย์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พยาบาลสาธารณสุข, คุณภาพชีวิตการทำงาน, หน่วยบริการปฐมภูมิ, Public Health Nursing, Quality of Working Life, Primary Health Care Units

Abstract

คุณภาพชีวิตการทำงานมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล พยาบาลสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพโดยมีหน้าที่บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับประชาชน และชุมชน การมีบทบาทที่หลากหลายและปริมาณภาระงานมาก อีกทั้ง บุคลากรไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลสาธารณสุข การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยบริการปฐมภูมิเขตภาคกลาง จำนวน 336 คน ซึ่งสุ่มโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ซึ่งได้รับการตอบกลับร้อยละ 73.19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไค-สแคว์ (Chi-Square) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการทำนายโดยใช้สถิติการถดถอย พหุแบบขั้นตอน (Stepwise  Multiple regression analysis)

ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลสาธารณสุขโดยรวมอยู่ในระดับดี (\inline \bar{X} = 2.82, S.D.= 0.23) การทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X} = 2.95, S.D.= 0.36) บรรยากาศองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X} = 2.78, S.D.= 0.29) ความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X} = 2.66, S.D.=0.23 และปัจจัยด้านรางวัล ปทัสถานของทีม ความขัดแย้ง ปริมาณงาน ผลตอบแทนจากงาน ความผูกพัน เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลสาธารณสุขได้ร้อยละ 19.00                  

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิให้ดีขึ้นโดยผู้บริหารระดับสูงควรมีแนวทางในการพิจารณาการให้รางวัล และผลตอบแทนจากงานอย่างเหมาะสม สนับสนุนมีการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงปริมาณงานให้เหมาะสมกับชั่วโมงการทำงาน รวมถึงการสร้างความผูกพันภายในองค์กร และบรรยากาศขององค์กรให้เอื้อต่อการทำงานที่เหมาะสมของพยาบาลสาธารณสุข

 

FACTORS RELATED TO QUALITY OF WORK LIFE OF NURSES WORKING IN PRIMARY HEALTH CARE UNITS IN THE CENTRAL REGION OF THAILAND

Quality of work life is very significant to work effectiveness of each individual. Public health nurses are the professional nurse working in primary care units. Their roles include health promotion as well as disease prevention and control at the community level. Various roles, over workload, and inadequate staff could have effects on their quality of work life .The objectives of this cross-sectional study were to study quality of work life of nurses working in primary  care unit and its related factors. The sample were 336 public health nurses working in primary care units located in the central region of Thailand selected by multi stage sampling .Data were collected by mail questionnaire with the  response rate of 73.19 %.Data were analyzed by using mean, standard deviation, and the relationships between personal factors, working factors, organizational factors and quality of work life were examined by the Chi-Square test, Peason 's Product Moment correlation coefficient and multiple regression analysis.

This study showed that quality of working life was at good level (\inline \bar{X} = 2.82, S.D.= 0.23)  team work was at moderate level (\inline \bar{X} = 2.95, S.D.= 0.36), organizational climate was at moderate level (\inline \bar{X} = 2.78, S.D.= 0.29), work stress was at moderate level (\inline \bar{X} = 2.66, S.D.=0.23) Multiple regression analysis showed that reward, norms of team, work conflict, work load, effort, and sense of belonging could altogether predict 19% of quality of working life.

Findings suggest that quality of working life can be promoted by chief executive providing approapriate reward supporting effective team work, and improving  workload. Development of organizational factor to enhance organization climate and sense of belonging improve quality of working life of public health nurses.

Downloads

How to Cite

เพชรแต่ง ส., แก้วปาน ว., กลัมพากร ส., & ศีลบุตร จ. (2016). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิเขตภาคกลาง. Journal of Public Health Nursing, 28(1), 29–42. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48190