กระบวนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชน: 14 กรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง

Authors

  • เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปนัดดา ปริยฑฤฆ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

กระบวนการทำงานการดูแลสุขภาพชุมชน, การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชนให้เกิดความยั่งยืน, Community health care processes, Sustainable health community

Abstract

การวิจัยถอดบทเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานการดูแลสุขภาพชุมชน และการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชนให้เกิดความยั่งยืน รวบรวมข้อมูลจากการถอดบทเรียนจากนักวิจัยจำนวน 36 คนที่ดำเนินการวิจัยใน 12 พื้นที่ 14 กรณีศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยการสรุปประเด็น ผลการศึกษา พบว่า ระบบและกลไกการทำงานที่สำคัญในการดูแลสุขภาพชุมชน เกิดจากนโยบายของรัฐ และความต้องการแก้ปัญหาของคนในพื้น ทั้ง 14 กรณีศึกษาใช้ทุนคนเป็นหลักในการดำเนินงาน มีทุนเงินและทุนสิ่งแวดล้อมเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการทำงาน ออกแบบกิจกรรม/วิธีการทำงานโดยใช้การดูแลตามธรรมชาติสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นที่ได้ และใช้ศักยภาพและประสบการณ์ของคนทำงาน โดยผ่านการประเมินความต้องการของชุมชนที่ได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน มีการบรรจุโครงการดูแลสุขภาพชุมชนลงในแผนพัฒนาชุมชนเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้การสื่อสารให้คนในชุมชนรับรู้ เป็นการสร้างนโยบายสาธารณของชุมชน การพัฒนาการดูแลสุขภาพชุมชนให้เกิดความยั่งยืน เกิดจากการมีทุนคนในพื้นที่ที่มีจิตอาสาทำงาน การปรับรูปแบบการทำงานให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน และมีระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการทำงานที่เกิดจากนโยบายระดับพื้นที่

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ระดับปฏิบัติการ พยาบาลชุมชนควรให้ความสำคัญของทุนทางสังคมในชุมชน การประเมินความต้องการของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างนโยบายสาธารณะ ระดับนโยบาย ผู้บริหารต้องมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดนโยบายระดับพื้นที่ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีระบบการดูแลสุขภาพที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน

 

COMMUNITY HEALTH CARE SYSTEM DEVELOPMENT PROCESS: 14 CASESTUDIES OF COMMUNITIES IN CENTRAL REGION

The purposes of this lessons learned study was to explore implementing process of community health care system as well as the developmental process for sustainable community health care system. Focus groups were conducted with 36 participants who were nurse researchers conducting 14 case studies in 12 sub-districts. Data were analyzed using content analysis and themes were emerged. The results revealed that government policies and the needs of local people are the key mechanism for community health care system. 14 case studies showed that community social capitals and resources including human resources, financial resources, and enabling environment are crucial to driven the process of community health care system. Community health need assessment to identify health care demand of the people included several methods and involvement of community participation. When designing and implementing community health programs, there is a need to focus on human capacity and direct practical experience in finding community health solutions that should based on problems and needs of the local people as well as community lifestyle. Development of local public policies generates from incorporating community health projects in community development plan and using platforms to communicate among people in the community. Development of sustainable community health care system requires community volunteers, community solutions response to the needs of local people, and supporting system at local policies. 

The findings suggest that community health nurses should incorporate community social capital, community needs assessment, and community participation involvement with other health care professions and organizations to create public policies in response to the needs of local people encouraging successful and sustainable community health care system.

Downloads

How to Cite

สิทธิปรีชาชาญ เ., & ปริยฑฤฆ ป. (2016). กระบวนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชน: 14 กรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง. Journal of Public Health Nursing, 28(1), 1–15. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48181