ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการอาชีวอนามัยของหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดนครราชสีมา
Keywords:
การให้บริการอาชีวอนามัย, หน่วยบริการปฐมภูมิ, รูปแบบการให้บริการอาชีวอนามัย, Occupational health services, Primary care units, Model of occupational health serviceAbstract
จังหวัดนครราชสีมามีอัตราการประสบอันตรายจากงานสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศ จึงควรจัดให้บริการ อาชีวอนามัยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการอาชีวอนามัยของหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดนครราชสีมา ตามรูปแบบการจัดโปรแกรมและบริการอาชีวอนามัยของโรเจอร์ ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (ได้แก่ ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ ความเพียงพอของเจ้าหน้าที่ ข้อมูลพื้นฐานและสถานการณ์ปัญหา อุปกรณ์ เครื่องมือ คู่มือและเงินสนับสนุน และนโยบายและเป้าหมาย) ปัจจัยด้านกระบวนการดำเนินงาน (ได้แก่ การบริหารจัดการดำเนินงานอาชีวอนามัย การฝึกอบรม ศึกษาดูงาน การศึกษาต่อเนื่องและการวิจัยของเจ้าหน้าที่ และทีมงาน เครือข่ายการดำเนินงานอาชีวอนามัย) และการให้บริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการปฐมภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่จัดส่งทางไปรษณีย์ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบัคเท่ากับ 0.88 - 0.94 กลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 264 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำเข้า และปัจจัยด้านกระบวนการดำเนินงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการให้บริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการปฐมภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) โดยปัจจัยย่อยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การบริหารจัดการดำเนินงานอาชีวอนามัย ข้อมูลพื้นฐานและสถานการณ์ปัญหา และ ทีมงาน เครือข่ายการดำเนินงานอาชีวอนามัย (rs = 0.670, 0.630 และ 0.625 ตามลำดับ) ปัจจัยย่อยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่ำสุด คือ ความเพียงพอของเจ้าหน้าที่ (rs = 0.425)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าภายใต้ข้อจำกัดของหน่วยบริการปฐมภูมิ การที่จะสามารถให้บริการอาชีวอนามัยได้อย่างมีประสิทธิผล ควรพัฒนาปัจจัยในด้านการบริหารจัดการดำเนินงานอาชีวอนามัยก่อน ตามด้วยการจัดการด้านข้อมูลพื้นฐานและสถานการณ์ปัญหา และพัฒนาปัจจัยด้านทีมงาน เครือข่ายการดำเนินงานอาชีวอนามัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชากรวัยแรงงานในจังหวัดนครราชสีมา
FACTORS RELATED TO OCCUPATIONAL HEALTH SERVICES OF PRIMARY CARE UNITS IN THE NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
The Nakhon Ratchasimaprovince has a higher rate of injury at work than the national average. This should have occupational health services (OHSs) suitable to the primary health care units assigned to it in order to alleviate this problem. The purpose of this cross-sectional research was to study factors related to the OHSs of primary care units in Nakhon Ratchasima province. Rogers’ model of occupational health programs and services was applied in order to give a conceptual framework to this study, including the input factors (i.e., knowledge and skills of personnel; adequacy of staff; basic data and problem situations; materials, tools, manuals and funding; as well as policy and goals), the throughput factors (i.e., the management of OHSs; training, field visits, continuing education and research of personnel, as well as team work and networks), and the OHSs of primary care units. Mailed questionnaires were used to collect data and had a Cronbach’s alpha coefficient of 0.88 - 0.94. The samples of this study were 264 primary care units from the Nakhon Ratchasima province. Descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient and Spearman rank correlation coefficient were used to analyze data.
The results showed that input and throughput factors held statistically significant positive relationships with OHSs (p-value < .01). The first three minor factors that had the highest positive relationships with OHSs were the management of OHSs; basic data and problem situations; as well as team work and networks (rs = 0.670, 0.630 and 0.625 respectively), whereas the adequacy of staff held lowest positive relationships (rs = 0.425).
This study suggested that in order to deliver effective OHSs under the limitation of OHSs system in primary care units, they should develop management systems first, followed by putting the basic information and problem situations to action, as well as building the occupational health network teams. This would bring the highest benefit to all sectors of workers in Nakhon Ratchasima province.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)