ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของสตรีอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน จังหวัดสุรินทร์

Authors

  • พัชนภา ศรีเครือดำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกมล ชาญสาธิตพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, การพัฒนาศักยภาพ, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, สตรีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, Breast self-examination, Capacity building for BSE, Participatoryv learnin, Female village health volunteers

Abstract

สตรีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการตรวจ เต้านมด้วยตนเองให้สามารถตรวจแยกแยะความผิดปกติในเต้านมได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่สตรี อสม.ในพื้นที่ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวจำนวน 45 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการกำหนดสัดส่วนต่อขนาดประชากรจากแต่ละหมู่บ้านแล้วทำการสุ่มอย่างง่ายจนครบตามจำนวน ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทัศนคติ และทักษะ ที่ประกอบด้วยวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์และกระบวนการกลุ่ม มีกิจกรรมตามโปรแกรมการเรียนรู้ 3 ครั้งห่างกันทุก 1 สัปดาห์ ทำการประเมินผลก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และระยะติดตามผล 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ One-way repeated measure ANOVA และ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีการพัฒนาเลื่อนระดับผลการเรียนรู้สูงขึ้น และร้อยละ 54.1 มีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับดี โดยพบว่าก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทัศนคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนคะแนนทักษะในระยะติดตามผลนั้นสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)

จากการจัดโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สามารถพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทัศนคติและทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่สตรี อสม.ได้จริง จึงควรนำโปรแกรมการเรียนรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวในงานการดูแลสุขภาพด้านอื่นๆต่อไป

 

EFFECTS OF CAPACITY BUILDING FOR BREAST SELF-EXAMINATION OF FEMALE HEALTH VOLUNTEERS IN SURIN’S COMMUNITIES

Most of the female village health volunteers (VHVs) only know the basic skills about how to perform breast self-examination(BSE) but they are unable to detect abnormal lump in breasts. The purpose of this quasi-experimental study was to evaluate the effects of capacity building for BSE. The one-group pretest-posttest design had 45 subjects recruited by stratified sample and proportional allocation method from female VHVs in Surin province. The intervention procedures hold on 3 weekends with Participatory Learning (PL). Data were collected by self-administered questionnaires for knowledge and attitude at before the intervention, at immediately after the intervention, and at 2-month follow-up, and by checklists for technical skills at before the intervention and at follow-up period. Descriptive data were presented by percentage, mean scores and standard deviations. One-way repeated measure ANOVA was performed to assess the effects on time of knowledge and attitude and paired t-tests to determine technical skills. The level of significance was less than .05.

Most of the subjects had developed their learning capacity to higher than before the intervention and more than half of them were at good level. The results revealed that the mean scores of knowledge and attitude were significantly different in times (p-value<.001) and showed its sustainability at the follow-up period. For technical skills, the result revealed that at 2-month follow-up period the mean score was significantly higher than at before the intervention (p-value <.001).

It’s suggested that an application of PL had an overall effect and illustrated sustainability such as knowledge, attitude and skills in BSE. This study can further initiate capacity building of female VHVs for other public health services.

Downloads

How to Cite

ศรีเครือดำ พ., ลาภวงศ์วัฒนา ป., & ชาญสาธิตพร ณ. (2016). ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของสตรีอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน จังหวัดสุรินทร์. Journal of Public Health Nursing, 27(3), 71–82. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48173