ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ

Authors

  • วิลาวรรณ สมตน นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โปรแกรมป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุ, Fall Prevention Program, Older Adults

Abstract

การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ    โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุซึ่งมีอายุ 65-79 ปี จำนวน 70 คน ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการหกล้ม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย การสร้างความตระหนัก การสนับสนุน การเสริมสร้างความสามารถ และการสร้างสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้บุคคลได้พัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลแบบปกติจากเจ้าหน้าที่สุขภาพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะประชากรและความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (p-value < .001) โปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ จึงเป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่สุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้สูงอายุในการป้องกันการหกล้มที่บ้านและในชุมชนต่อไป

 

EFFECTS OF A FALL PREVENTION PROGRAM FOR THAI OLDER ADULTS

The objective of this quasi-experimental study was to examine effects of a fall prevention program for Thai older adults applying Orem’s Self-care Deficit Theory. Seventy older adults in Langsuan District, Chumphon Province, aged 65-79 years, with a risk of falling, were invited to participate in this study. There were 35 participants in the experimental group and 35 participants in the comparison group. The 8-week fall prevention program consisted of enhancing awareness, giving support, enhancing self-care capability, and creating environmental modification, all of which were designed to improve the effect of self-care capability on fall prevention. The comparison group received conventional care as part of the routine work of the Sub-district Health Promotion Hospital in their community. Data collected before and after the intervention included socio-demographic data and effect of self-care capability on fall prevention. Data analysis was performed using percentage, mean, standard deviation, paired t-test, and independent t-test.

Results reveal that, at the post-test, the experimental group had significantly higher self-care capability effect on fall prevention scores than the pre-test scores (p-value < .001). In addition, the self-care capability effect on fall prevention scores of the experimental group were greater than those of the comparison group (p-value < .001). The fall prevention program for Thai older adults could enhance the effect of self-care capability on fall prevention for older adults. This program could be adopted by sub-district health promotion hospital personnel to promote the effect of self-care capability on fall prevention for older adults at home and in the community.

Downloads

How to Cite

สมตน ว., รวิวรกุล ท., & อำนาจสัตย์ซื่อ ข. (2016). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ. Journal of Public Health Nursing, 27(3), 58–70. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48170