ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

Authors

  • วาริศา แย้มศรี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันทนา มณีศรีวงศ์กูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรสา พันธ์ภักดี รองศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ, การให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่แบบปกติ, ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่, ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, Motivational Interview, Routine Advice on Smoking Cessation, Knowledge of Cigarette Toxicity

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล(หลังการทดลอง 30 วัน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการลดการสูบบุหรี่ และ การให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่แบบปกติ ต่อความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้ากลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการลดการสูบบุหรี่ และกลุ่มควบคุม ได้รับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่แบบปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ แบบประเมินขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และแบบบันทึกจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01 และ p-value < .05 ตามลำดับ) มีสัดส่วนของผู้ที่อยู่ในขั้นปฏิบัติการลดการสูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001 ทั้งสองช่วงเวลา) และมีจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันลดลงจากก่อนการทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001 ทั้งสองช่วงเวลา) ส่วนระยะติดตามผลกลุ่มทดลอง มีความรู้เกี่ยวเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ เพิ่มขึ้นจากหลังการทดลองไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > .05) แต่กลุ่มทดลองมีจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันลดลงจากหลังการทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจมีประสิทธิผลในการลดการสูบบุหรี่ มากกว่าการให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่แบบปกติ จึงควรจะนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้สูบบุหรี่ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ

 

THE EFFECT OF MOTIVATIONAL INTERVIEWING ON SMOKING BEHAVIOR IN PERSONS AT RISK FOR CORONARY ARTERY DISEASE

The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of a motivational interview or routine advice on smoking cessation on knowledge of cigarette toxicity, stages of behavioral change, and number of cigarettes smoked per day comparing before, immediately-after the intervention, and follow - up stage (30 days after the intervention). Subjects were purposively recruited from persons at risk for coronary artery disease. The experimental group (n = 30) received a motivational interview, while the control group (n = 30) received routine advice on smoking cessation. Data were obtained using questionnaires assessing knowledge of cigarette toxicity and stages of behavioral change, as well as daily records of the number of cigarettes smoked.

The findings revealed that the improvement of knowledge of cigarette toxicity immediately after the intervention and follow - up stage in the experimental group was significantly better than that in the control group (p < .01; p < .05, respectively). A greater proportion of subjects were in the action stage of smoking reduction, and  a greater reduction in the number of cigarettes smoked per day at both times were detected in the experimental group, compared to the control group, (p < .001; p < .001, respectively). However, there was no significant improvement of knowledge of cigarette toxicity between follow - up stage and immediately after the intervention in either group; the experimental group had a greater reduction in number of cigarettes smoked per day compared to the control group (p < .05). The study showed significantly greater effectiveness of a motivational interview on smoking reduction than routine advice on smoking cessation. Therefore, motivational interview should be applied for smoking cessation in persons  using health services at  primary care centers.

Downloads

How to Cite

แย้มศรี ว., มณีศรีวงศ์กูล ว., & พันธ์ภักดี อ. (2016). ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ. Journal of Public Health Nursing, 27(3), 41–57. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48166