ปัจจัยที่สัมพันธ์กับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้ที่มีอาการเมตาบอลิก ซินโดรม จังหวัดอุทัยธานี

Authors

  • ทวีศักดิ์ คำกลึง นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิรัตน์ อิมามี รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, สมดุลการตัดสินใจ, Stages of change, Dietary intake, Decisional balance

Abstract

เมตาโบลิก ซินโดรม (Metabolic syndrome) คือกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่เป็น เมตาโบลิก ซินโดรม จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ที่มีอาการเมตาบอลิก ซินโดรม จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ที่มีอาการเมตาบอลิก ซินโดรม ตามเกณฑ์ของสหพันธ์เบาหวานโลก (International Diabetes Federation) จำนวน 500 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไค-สแควร์ และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 75 เพศชาย ร้อยละ 25 เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างอยู่ในขั้นไม่สนใจ (Precontemplation) ร้อยละ 35.4 ขั้นลังเลใจ (Contemplation) ร้อยละ 18.6 ขั้นตัดสินใจ (Preparation) ร้อยละ 27.6 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) ร้อยละ 10.4 และขั้นกระทำพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง (Maintenance) ร้อยละ 7.0 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยของสมดุลการตัดสินใจด้านผลดี (Pros) ของการบริโภคอาหาร และการรับรู้ความสามารถตนเองตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยสมดุลการตัดสินใจด้านข้อเสียหรือโทษ (Cons) ของการบริโภคอาหารขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p-value =0.073)

ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีอาการเมตาบอลิก ซินโดรมที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้น หน่วยงานด้านสาธารณสุขควรมีการประเมินขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมตามกลุ่มผู้ที่มีอาการเมตาบอลิก ซินโดรม ในแต่ละขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ

 

FACTORS ASSOCIATED WITH STAGES OF CHANGE FOR DIETARY INTAKE OF PERSONS WITH METABOLIC SYNDROME, UTHAITHANI PROVINCE

Metabolic syndrome is a complex of signs and symptoms that are the risk factors of the onset of coronary heart disease.  The persons with metabolic syndrome will increase the risk of getting Type 2 diabetes mellitus and coronary heart disease which are very harmful to health.  This study was a survey research aiming to investigate the factors associated with stages of change for dietary intake of persons with metabolic syndrome in Uthaithani Province.  The samples were composed of 500 respondents with metabolic syndrome, in accordance with the criteria set by the International Diabetes Federation, who were selected by using three-stage sampling method.  The research instrument used was the interviewing schedule and the data were analyzed by using descriptive analysis, Chi-square test, and One-Way ANOVA.

The results were found that 75 percent of the respondents were females and 25 percent were males.  According to the stages of change, the following percentages of the respondents in each stage were found: precontemplation (36.4%); contemplation (18.6%); preparation or ready for action (27.6%); action (10.4%) and maintenance stage (7.0%) respectively.  Significant difference of pros of decisional balance for dietary intake and perceived self-efficacy average score was found between stages of change (p-value < .001) but no significant difference was found between the cons of decisional balance of dietary intake average scores (p-value =0.073).

This study revealed that the respondents with metabolic syndrome hold different stages of change for dietary intake. Therefore, public health organizations should assess the stages of change and organize learning activities for promoting correct and appropriate dietary intake in accordance with the different stages of change for dietary intake of persons with metabolic syndrome in order to change dietary intake behavior effectively.

Downloads

How to Cite

คำกลึง ท., ธีระวิวัฒน์ ม., & อิมามี น. (2016). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้ที่มีอาการเมตาบอลิก ซินโดรม จังหวัดอุทัยธานี. Journal of Public Health Nursing, 27(3), 27–40. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48164