ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ดูแล
Keywords:
พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอด, ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค, ผู้ดูแล, TB prevention behavior, Health Protection Motivation theory, CaregiverAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ดูแลผู้ป่วย วัณโรคปอด โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-10 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 55 คน เก็บรวมรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยค่าสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฉิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ Paired t-testผลการศึกษาพบว่าภายหลังจัดกิจกรรม 4 สัปดาห์ และหลังจัดกิจกรรม 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความรุนแรงของวัณโรคปอด การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอด ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันวัณโรคปอด ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันวัณโรคปอด และพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของ ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) และภายหลังจัดกิจกรรม 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความรุนแรงของวัณโรคปอด การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอด ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันวัณโรคปอด ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันวัณโรคปอด และพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ดูแล แตกต่างจาก 8 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)
จากผลการวิจัย พบว่าหากผู้ดูแลเชื่อว่าวัณโรคปอดมีอันตรายต่อสุขภาพ ความรู้สึกว่าตนเองเสี่ยงต่อวัณโรคปอด เชื่อมั่นว่าผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถป้องกันวัณโรคปอดเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันวัณโรคปอดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ดูแลมีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันวัณโรคปอด ดังนั้นโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค มีประสิทธิผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ดูแลได้
EFFECTIVENESS OF PROTECTION MOTIVATION THEORY APPLICATION PROGRAM ON TB PREVENTION BEHAVIOR OF CAREGIVERS
The main objective of the research was to study the effectiveness of Protection Motivation application program on TB Prevention behavior of caregiver .This quasi-experimental research was one group pretest-posttest design. The sample were 55 caregivers of new TB patients with smear AFB positive in Suphanburi province. The activities composed of lecture with the use of flipcharts, dialogue, demonstrations, practice, positive-role models,and group discussion.The research procedure lasted 12 weeks. Data were collected at 4th week and 8th week by using questionnaires before and after the intervention. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and paired t-test.
After the intervention at 4th and 8th week, it was found that people in the experiment group had significantly higher mean score of perceived severity,perceived probability,self-efficacy,outcome expectation, and intention to perform behavior (p- value < .05) than before getting involve to the program. After the intervention at 4th, the people in the experiment group had significantly different mean score of all variables from 8th week ( p- value < .05).
Findings suggested that the intervention applying the Protection Motivation Theory was able to encourage the risk group to develop proper practices in prevention Tuberculosis .Thus, this heath education program can create motivation to prevent and promote activities that reduce the risk of TB. The results of this study should be used in the further studies.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)