ผลของการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีต่อ การติดเกมคอมพิวเตอร์และพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
Keywords:
แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี, การติดเกมคอมพิวเตอร์, พฤติกรรมสุขภาพ, Implementing an action plan based on AIC technique, Computer game addiction, Health behaviorAbstract
การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ใช้เทคนิคเอไอซี (Appreciation Influence Control:AIC)ในการแก้ไขปัญหานักเรียนติดเกมคอมพิวเตอร์ โดยนำกระบวนการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่ติดเกมคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่ติดเกมคอมพิวเตอร์ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 ในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน เริ่มดำเนินการศึกษาตั้งแต่ วันที่ 3 กันยายน -30 ตุลาคม 2555 กลุ่มทดลองได้รับการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี (AIC) เก็บข้อมูลก่อนการทดลองทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักเรียน แบบสอบถามการติดเกมคอมพิวเตอร์ และพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน เก็บข้อมูลภายหลังการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี (AIC) 1อาทิตย์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนการติดเกมคอมพิวเตอร์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งก่อนทดลองและหลังทดลองและในระยะติดตามผลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยการติดเกมคอมพิวเตอร์โดยรวมหลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเท่ากับ 16.43 (SD= 4.057) และ 33.63 (SD= 2.697) เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่ามีความแตกต่างกัน (p-value ≤ .001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมสุขภาพ หลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเท่ากับ 66.23 (SD= 4.890) และ 49.30 (SD= 7.203) เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่ามีความแตกต่างกัน (p-value ≤ .05) นอกจากนี้ ผลการดำเนินกิจกรรมแผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี พบว่านักเรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและภาคภูมิใจในกิจกรรมดนตรี โดยมองว่าดนตรีสามารถเบี่ยงเบนความสนใจจากการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ดังนั้นข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือ คณะครู ผู้นำนักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลนักเรียนได้นำกิจกรรมดนตรีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ รวมถึงได้มีการติดตามผลและความเปลี่ยนแปลงของนักเรียนจากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ยั่งยืนต่อไป
THE EFFECT OF IMPLEMENTING AN ACTION PLAN BASED ON THE AIC TECHNIQUE FORCOMPUTER GAME ADDICTION AND HEALTH BEHAVIOR AMONG ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS
The purpose of this experimental research was to examine the effect of implementing an action plan using the Appreciation Influence Control (AIC) technique for computer game addiction and health behavior among elementary students regarding the process of problem solving on the part of the student participation in relation to the adjustment of their health behavior. The sample consisted of 60 students in elementary school grades 4-5 that had exhibited addition to computers and that were observed from September 3, to October 30, 2012, divided equally into two groups the experimental and the control group. The experimental group received the implementing action plan using the AIC technique; and the control group received only the questionnaire on general information, a computer game addiction questionnaire, and a health behavior questionnaire. Data were collected before and a week after the intervention. Descriptive statistics were carried out by using frequency, mean, standard deviation, and t- test.
The results indicated that there was a significant difference in the computer game addiction between the experimental group and the control group (p-value ≤.001). The mean scores were 16.43 (SD=4.051) in the experimental group and 33.63 (SD=2.697) in the control group. Moreover, there was a significant difference in the health behavior scores between two groups (p-value ≤ .05). The mean scores were 66.23 (SD=4.890) and 49.30 (SD=7.203). Furthermore, the results from implementing the action plan using the Appreciation Influence Control (AIC) technique revealed that students participated and felt proud of the music project. They believed music could incline interesting from computer games. These results suggest that teachers, student leaders, and those who involved in students have to apply music project which including the monitoring and modifying of student participation in such an efficient sustainable.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)