การประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการวิจัยทางสาธารณสุข

Authors

  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อรวรรณ แซ่ตั๋น อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน, ประสิทธิผล, การจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, Research-based learning, Effectiveness, Student centered

Abstract

การจัดการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ สร้างสรรค์องค์ความรู้ได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน และเพื่อประเมินประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน

การศึกษาเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการในกลุ่มประชากร นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร ปีการศึกษา 2553 จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสมรรถนะ 2) แบบประเมินทักษะการนำเสนอแบบวาจา 3) แบบประเมินทักษะการนำเสนอแบบโปสเตอร์ และ4) แบบสอบถาม ความพึงพอใจ โดยแบบสอบถามประเมินสมรรถนะและความพึงพอใจ เป็นมาตรวัดแบบไลเคิร์ท 5 ระดับ ตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหาแบบเผชิญหน้าโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาพรวมของ แบบวัดสมรรถนะก่อนหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ ได้ค่า 0.82 และ 0.77 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติไม่อิง พารามิเตอร์ ด้วยการทดสอบ Wilcoxon signed rank

ผลการศึกษาพบว่า หลังจากมีการนำการจัดการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐานไปปฏิบัติ สมรรถนะของนิสิต ก่อนและหลังจัดการเรียนการสอน พบว่ามีความแตกต่างของสมรรถนะก่อนและหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p-value < .001) ทักษะของนิสิตในการประเมินการนำเสนอผลงานทางวาจา ได้ค่าช่วงคะแนนต่ำสุดและ สูงสุดเป็น 74.2 – 95.8 การประเมินการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้ค่าช่วงคะแนนต่ำสุดและสูงสุดเป็น 75.2 – 97.3 คะแนนความพึงพอใจของผู้เรียน โดยรวมได้ค่าคะแนน 4.19 จากคะแนนเต็ม 5 ถือว่าอยู่ในระดับดี

ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการการจัดการเรียนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน ทำให้เกิดผลลัพธ์ของ ผู้เรียนในด้านทักษะการทำวิจัยในรายวิชา 554471 การวิจัยทางสาธารณสุข

 

APPLYING RESEARCH-BASED LEARNING MODEL INTO THE COURSE OF PUBLIC HEALTH RESEARCH

Research-based learning helps students develop critical thinking, analyzing, synthesizing, and creating new knowledge. This study aimed to develop research-based learning model and to evaluate effectiveness of the model.

Population of this action research included the 87 senior public health undergraduate students, who were enrolling in Academic Year 2010 at Naresaun University. The instruments were: competency assessment questionnaire, oral presentation skill assessment form, poster presentation skill assessment form, and satisfaction assessment questionnaire. The competency and satisfaction assessment questionnaires were a 5-point Likert scales. Three experts validated a face content validity. The Cronbach’s alphas of the competency and satisfaction assessment questionnaires were 0.82 and 0.77, respectively. The descriptive statistics included of percentage, mean, standard deviation, median, minimum, and maximum. Wilcoxon signed rank test was used to analyze data.

The results showed that the students had a significant difference of pre and post competency after they received research-based learning (p-value < .001). The range of oral presentation scores was 74.2 – 95.8, and the range of oral presentation scores was 75.2 – 97.3. The average score of students’ satisfaction was good (4.19 out of 5).

The results illustrated that the research-based leaning model enhanced research skills of students, who attended the public health research course (course number: 554471).

Downloads

How to Cite

กิจธีระวุฒิวงษ์ น., & แซ่ตั๋น อ. (2016). การประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการวิจัยทางสาธารณสุข. Journal of Public Health Nursing, 27(2), 81–95. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47926