ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลันของพยาบาล ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี
Keywords:
ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, การปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลัน, พยาบาล, Prevalence, Risk factors, Acute low back pain, NursesAbstract
พยาบาลเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยก่อให้เกิดผลกระทบกับพยาบาลทั้งใน ด้านสุขภาพและความสามารถในการทำงาน และส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การบริหารบุคลากร และคุณภาพ การดูแลผู้ป่วย มีการศึกษาถึงความชุกของการปวดหลังส่วนล่างของพยาบาลในประเทศต่างๆ ในขณะที่การศึกษา ถึงความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลันของพยาบาลไทยยังมีการศึกษาน้อยมาก การ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลันของพยาบาลใน โรงพยาบาลสิงห์บุรี โดยใช้ PRECEDE-PROCEED Model มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มการพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 265 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ ตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ Logistic regression ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% CI
ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของการปวดหลังส่วนล่างในระยะ 7 วันที่ผ่านมาของพยาบาล เท่ากับ ร้อยละ 36.6 ปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลันของพยาบาลได้แก่ ประวัติเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการปวด หลังส่วนล่าง (OR= 4.45; 95% CI=1.46-13.54) และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในเตียงโดยลำพัง (OR= 2.33; 95%CI=1.32-4.09)
จากผลการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลันทำให้ได้แนวทางการพัฒนา โปรแกรมการป้องกันการปวดหลังส่วนล่างสำหรับพยาบาลตามสาเหตุที่เกี่ยวข้องต่อไป
PREVALENCE AND RISK FACTORS OF ACUTE LOW BACK PAIN AMONG NURSES IN SINGBURI HOSPITAL
Nursing is a high risk low back pain (LBP) profession. LBP impacts on nurses’ health and ability to work and on the economic, labor force, and quality of care. The prevalence and risk factors of acute LBP among hospital nurses was reported in several countries, while it was limited in Thailand. The purpose of this study was to determine the prevalence and risk factors of acute LBP among nurses by applying the PRECEDE-PROCEED model as its study framework. The samples were 265 nurses working at the Nursing Department of Singburi Hospital for at least 1 year. Self-administered questionnaires were used for collecting the data on site. Data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and logistic regression.
The results of the study revealed that the prevalence of acute LBP based upon the nurses’ report in the past seven days was 36.6%. Logistic regression analysis indicated that having history of previous diseases related to LBP (OR= 4.45; 95% CI=1.46-13.54) and moving patients in bed without assistance (OR= 2.33; 95% CI=1.32-4.09) were the significant risk factors of acute LBP among nurses (p-value < .01).
The findings of risk factors of acute LBP among nurses are useful for developing LBP preventive factor-based interventions.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)