ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของแม่วัยรุ่นหลังคลอดต่อการรับรู้สมรรถนะ ในตนเองของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
Keywords:
โปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณ, แม่วัยรุ่นหลังคลอด, การรับรู้สมรรถนะในตนเองของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้านอย่างต่อเนื่อง, Spiritual Well-being Promoting Program, Perceived Self-efficacy, Continuous Breast-feeding Mothers at HomeAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความ ผาสุกทางจิตวิญญาณของแม่วัยรุ่นหลังคลอดต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเองของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้านอย่าง ต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ แม่วัยรุ่นอายุ 14-19 ปี อยู่ในช่วงแรกหลังคลอดซึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้านในเขต กรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน ด้วยการคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มทดลองใช้แผนการจัดโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของแม่วัยรุ่นหลังคลอด ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้การดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินการรับรู้สมรรถนะใน ตนเองของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้านอย่างต่อเนื่องและแบบสอบถามความคิดเห็นด้านความผาสุกทางจิตวิญญาณ ของแม่วัยรุ่นหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการ ทดสอบค่าที่ Repeated Measures ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังจัดโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของแม่วัยรุ่นหลังคลอดกลุ่ม ทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะในตนเองภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมทันทีและหลังสิ้นสุดโปรแกรมอีก 4 สัปดาห์ต่อมาสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมและมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value < .05 )
ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรนำผลการวิจัยดังกล่าวไปบูรณาการด้านบริการวิชาการทางสุขภาพแก่ สังคมแบบเชิงประจักษ์และเชิงรุก โดยใช้ยุทธวิธีสร้างเครือข่ายพยาบาล รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บริการพัฒนาสุขภาพแม่ วัยรุ่นหลังคลอดซึ่งมีความสอดคล้องกับการพยาบาลมารดาและทารก ที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีหลังคลอดปกติ และที่มีภาวะเสี่ยง โดยมีเป้าหมายการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับชุมชนเขตเมือง และเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยการประสานงานกับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและองค์กร ทางศาสนาโดยเพิ่มช่องทางบริการสุขภาพที่บ้านแบบถึงตัวถึงใจครอบครัววัยรุ่นแบบยั่งยืนโดยเน้นการสร้างเสริมวุฒิ ภาวะด้านทักษะชีวิตกับความผาสุกในชีวิตของแม่วัยรุ่นหลังคลอดให้สามารถดำเนินชีวิตด้วยการใช้สติปัญญา เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อลูกและครอบครัวด้วยจิตวิญญาณ
THE EFFECTIVENESS OF SPIRITUAL WELL-BEING PROMOTING PROGRAM ON PERCEIVED SELF- EFFICACY FOR CONTINUOUS BREAST-FEEDING OF TEENAGE MOTHERS AT HOME
The purpose of this quasi-experimental research was to conduct a study of the effectiveness of spiritual well-being promoting program on perceived self-efficacy for continuous breast-feeding of teenage mothers at home. The 60 samples were teenage mothers 14 -19 years old, the first period after birth that dribble with breast- feeding continuously at home in Bangkok. The sample was equally divided into 30 experimental group and 30 comparison group with the select of the specific sample. The experimental group received a spiritual well-being promoting program on perceived self–efficacy of teenage mothers after birth. The comparison group used a calendar media from the way of baby love. The equipment were collected by a questionnaire on perceived self–efficacy for continuous breast–feeding and spiritual well–being of breast–feeding of teenage mothers at home questionnaire. Data were analyzed using frequency, percentages, means, standard deviations, Independent t-test and Repeated Measures ANOVA.
The result revealed that after spiritual well–being promoting program teenage mothers in the experimental group had higher scored in spiritual well-being on perceived self-efficacy for continuous breast-feeding at home in the post-test higher than the pre-test and better than the comparison group at the .05 level of significance. (p-value < .05)
The results of this study suggest that the research should integrate health social services academic empirical and proactive empirical tactical nursing care network, including the establishment of teenage mothers health center according to maternal and child nursing care focusing on health promotion in normal and risk post-partum mothers. The goal is to excellent development of urban community and prepare to ASEAN community by coordinating with the government hospital, private sector, educational institution and religion organization. This should be done by adding channels to the home health services approach teenage mothers in body in mind sustainability, focusing on enhancing maturity in terms of life skills and well-being in the lives of teenage mothers in order to live with wisdom and to sacrifice personal happiness for children and family.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)