ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ ต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ศรีพรรษ์ ถาวรรัตน์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
  • ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกมล ชาญสาธิตพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ, พฤติกรรมสุขภาพทางเพศ, นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น, Information Motivation and Behavioral Skills Model, Sexual Health Behaviors, Male Secondary School Students

Abstract

พฤติกรรมสุขภาพทางเพศที่ดีของวัยรุ่นสามารถป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การ สร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ ต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชายมัธยมศึกษา ตอนต้นเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 88 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 43 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 45 คน เก็บข้อมูล ด้วยการตอบแบบสอบถามด้วยตัวเองประกอบด้วย ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การตัดสินใจ และพฤติกรรมสุขภาพทางเพศ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA and ANCOVA)

ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองนักเรียนชายกลุ่มทดลองมีคะแนนรวมพฤติกรรมสุขภาพทางเพศอยู่ ในระดับดีมากกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ ความสามารถ การตัดสินใจ และพฤติกรรมสุขภาพทางเพศดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนน เฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถ และการตัดสินใจ ดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) และในระยะติดตามผล คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพทางเพศ ดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) โดยกลุ่มทดลองยังคงมีความรู้ การรับรู้ความสามารถ และการตัดสินใจอยู่ในระยะติดตามผล

การให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพทาง เพศได้ ถ้าได้รับการฝึกทักษะโดยครูผู้รับผิดชอบหรือครอบครัว ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าการนำโปรแกรมนี้ไป ใช้ควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดทัศนคติทางบวกต่อการฝึกทักษะและพฤติกรรมสุขภาพทางเพศ

 

EFFECTS OF INFORMATION MOTIVATION AND BEHAVIORAL SKILLS MODEL ON SEXUAL HEALTH BEHAVIORS IN MALE SECONDARY SCHOOL STUDENTS

Healthy sexual health behaviors in adolescents can protect risky sexual behaviors such as sexual intercourse without using a condom. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of an Information Motivation and Behavioral Skills model on sexual health behaviors. Samples were male secondary school students selected by simple random sampling: 43 for the experimental group and 45 for the comparison group. Data were collected by using self-administered questionnaires: knowledge, attitude, self-efficacy skills, decisional making skills about sex and sexual health, and sexual health behaviors. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, independent t-test, Repeated Measures ANOVA and ANCOVA.

Results showed that the experimental group had total scores of sexual health behaviors at a high level that was higher than those at pre-test and higher than their in the comparison group. The mean scores of knowledge, attitude, self-efficacy skills, decisional making skills and sexual health behaviors were higher than those in the comparison group (p-value < .05). At immediately after the experiment and the follow-up periods, the mean scores of knowledge, selfefficacy skills, and decisional making skills were significantly higher than at pre-test (p-value < .05). In the follow-up periods, the mean scores of sexual health behaviors were significantly higher than at pre-test (p-value < .05). The mean scores of knowledge, self-efficacy skills, and decisional making skills showed its sustainability at the follow-up periods.

The IMB model will be successful on sexual health behaviors if the behavioral skills are given intensively by responsible teachers and parents. To facilitate the promotion of sexual health behaviors, further study is needed to motivate positive attitude towards behavioral skills and sexual health behaviors.

Downloads

How to Cite

ถาวรรัตน์ ศ., ลาภวงศ์วัฒนา ป., & ชาญสาธิตพร ณ. (2016). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ ต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Public Health Nursing, 27(2), 14–26. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47906