ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน
Keywords:
พฤติกรรมป้องกัน, อาการภูมิแพ้, เด็กวัยเรียน, Preventive behaviors, Allergic symptoms, School-age childrenAbstract
อาการภูมิแพ้เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังในเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยนี้ต้องมีพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ที่ เหมาะสม วัตถุประสงค์ของการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกัน อาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคภูมิแพ้ จำนวน 241 คน ที่มารักษา ณ คลินิก โรคภูมิแพ้เด็ก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 แห่ง โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้อาการ สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยได้ดังนี้ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X = 44.32, S.D. = 6.10) การสนับสนุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน และการรับรู้อาการมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .42, .23, .21และ .17 ตามลำดับ) ส่วนความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน (r = .07, p-value > .05) การสนับสนุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน การรับรู้อาการ และความรู้ เป็นตัวแปร ที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ได้ร้อยละ 20.5 (R2 = .205, p-value < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมให้ผู้ป่วยเด็กโรคภูมิแพ้ที่มีอาการ ภูมิแพ้กำเริบขึ้นได้บ่อย มีพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ได้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในการดูแลจัด สิ่งแวดล้อมภายในบ้านที่เอื้อต่อพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน
FACTORS PREDICTING OF ALLERGIC SYMPTOMS PREVENTIVE BEHAVIORS AMONG SCHOOL-AGE CHILDREN
Allergic symptoms are chronic illness among school-age children. They must have appropriate allergic symptoms preventive behaviors. The purpose of this predictive correlational research was to study the predicting factors of allergic symptoms preventive behaviors among school-age children. The study sample included of 241 school-age children out-patients with allergy clinic, 4 tertiary hospitals in Bangkok Metropolitan, a stratified random sampling. The instruments used for data collection were the demographic data, knowledge, perceived symptoms, indoor environment, outdoor environment, social support and allergic symptoms preventive behaviors. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and multiple regression analysis. The results revealed that: The mean score of allergic symptoms preventive behaviors among school-age children were at a high level ( X = 44.32 ,S.D. = 6.10). Social support, indoor environment, outdoor environment and perceived symptoms were positively related to allergic symptoms preventive behaviors among school-age children (r = .42, .23, .21, and .17 respectively, p-value < .05) While, knowledge was not related to allergic symptoms preventive behaviors among school-age children (r = .07, p-value > .05). Social support, indoor environment, outdoor environment and perceived symptoms and knowledge were predictors for allergic symptoms preventive behaviors. Variables accounted for 20.5% of the variance in allergic symptoms preventive behaviors among school-age children (R2 = .205, p-value < .05). The result enhanced understanding of how to develop the exacerbation allergic symptoms preventive intervention program among school-age children, focusing on familyparticipation and management indoor environment at home.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)