ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลหลักต่อการดูแลเด็กป่วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาววัยก่อนเรียนที่บ้าน

Authors

  • ปัทมาภรณ์ พรหมวิเศษ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกมล ชาญสาธิตพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กลีบสไบ สรรพกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ดูแลหลัก, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, เด็กวัยก่อนเรียน, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, caregiver, empowerment, preschool children, leukemia

Abstract

การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของเด็กวัยก่อนเรียนมีผลกระทบต่อบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ดูแลหลัก พลังอำนาจของผู้ดูแลหลักมีผลต่อการดูแลสุขภาพของเด็กป่วย การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลหลักในการดูแลเด็กป่วยวัยก่อนเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ดูแลหลักในการดูแลเด็กป่วยจำนวน 31 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 16 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 15 คน ซึ่งเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตอบเอง ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลหลักและเด็กป่วย พลังอำนาจของผู้ดูแลหลัก ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการดูแลที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test, Repeated Measures ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลหลักในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพลังอำนาจ (p-value = .025) ความสามารถในการควบคุม (p-value = .023) และการรับรู้สมรรถนะในตน (p-value = .006) สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความรู้และพฤติกรรมในการดูแล เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยความรู้ (p-value = .041 ) ความสามารถในการควบคุม (p-value = . 031) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (p-value = .014) สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระยะติดตามผล การรับรู้สมรรถนะในตนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .046) แสดงว่าการรับรู้สมรรถนะในตนยังคงอยู่ภายหลังจากโปรแกรมสิ้นสุดลง ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า การจัดโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลหลักสามารถเพิ่มการรับรู้ถึงพลังอำนาจ ความรู้ ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ต่างๆ และพฤติกรรมการดูแลที่บ้านบางส่วนได้ แต่ไม่มีความยั่งยืน จึงควรมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน

 

EFFECTS OF THE CAREGIVER’S EMPOWERMENT PROGRAM ON HOME CARE FOR PRESCHOOL CHILDREN WITH LEUKEMIA

The illness of children with Leukemia impacts their families and family members especially caregivers. Empowerment of caregivers influences the home care for these children. The purpose of this study was designed to assess the effects of the caregiver’s empowerment program for preschool children with leukemia.  A total of  31 caregivers, 16 from the experimental group and 15 from the comparison group, selected by simple random sampling. Data were collected by using a self-administered questionnaire regarding power of caregivers, knowledge about Leukemia, coping, self–efficacy perception and home care behavior. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, independent t-test and Repeated Measures ANOVA.

Results showed that the experimental group had significantly higher mean scores of power (p-value = .025), coping (p-value = .023), and self- efficacy perception (p-value = .006) than those of the comparison group.  After the experiment, the mean scores of knowledge (p-value = .041), coping (p-value =. 031), and self- efficacy perception (p-value = .014) in the experimental group was significantly increased. At the follow up, the self-efficacy perception of the experimental group was significantly increased compared to after the experiment (p-value = .046). The results of this study indicated that the caregiver’s empowerment program on home care for preschool children with leukemia had an effect on power, knowledge, coping, and behavior but did not change over time.  Accordingly a modified similar program should be developed to achieve for sustainable. 

Downloads

How to Cite

พรหมวิเศษ ป., ลาภวงศ์วัฒนา ป., ชาญสาธิตพร ณ., จิระพงษ์สุวรรณ แ., & สรรพกิจ ก. (2016). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลหลักต่อการดูแลเด็กป่วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาววัยก่อนเรียนที่บ้าน. Journal of Public Health Nursing, 27(1), 88–101. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47885