ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัวในหน่วยส่งเสริมสุขภาพสตรีและวางแผนครอบครัว ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

Authors

  • บุษกร สีหรัตนปทุม อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
  • เกศแก้ว วิมนมาลา อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร

Keywords:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน, คู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัว, knowledge attitudes, premarital health check up behavior, the couple formation stage

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) เพื่อศึกษาย้อนหลังความสัมพันธ์และอำนาจทำนายระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัว ในหน่วยส่งเสริมสุขภาพสตรีและวางแผนครอบครัว ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและ วชิรพยาบาล จำนวน 90 คู่โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัวทั้งฝ่ายหญิง 90 คน และฝ่ายชาย 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มทีละขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า คู่สมรสฝ่ายหญิง จำนวน 90 คน ไม่เคยตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ร้อยละ 75.6 มีทัศนคติเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานในระดับปานกลาง (= 3.02, S.D  = 0.618) และมีความรู้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ร้อยละ 84.40 (=4.58,S.D=1.245) ส่วนคู่สมรสฝ่ายชาย จำนวน 90 คน ไม่เคยตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ร้อยละ 71.10  มีทัศนคติเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานในระดับปานกลาง (= 3.33,S.D = 0.474) และมีความรู้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ร้อยละ 62.20 (= 5.20, S.D = 1.730) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัวฝ่ายหญิง พบว่าการตรวจสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ ก่อนสมรส (r = .804) รายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนสมรส (r = .363) ทัศนคติ และความรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนสมรส (r = .237และ.194 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 ส่วนคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัวฝ่ายชาย พบว่า ทัศนคติ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนสมรส (r = .835) ความรู้และการตรวจสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนสมรส ( r = .695 และ .570 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัวฝ่ายหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การตรวจสุขภาพ ทัศนคติ และอายุ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนสมรส ได้ร้อยละ 68.00 (R2 = .680) ส่วนตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของคู่สมรสฝ่ายชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ทัศนคติ การศึกษา ความรู้ การตรวจสุขภาพ และอาชีพ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนสมรส ได้ร้อยละ 86.90  (R2 = .869) 

 

KNOWLEDGE, ATTITUDE AND PREMARITAL HEALTH CHECK UP BEHAVIOR OF THE COUPLE FORMATION STAGE IN THE WOMEN HEALTH PROMOTION AND FAMILY PLANNING UNIT AT BMA MEDICAL COLLEGE AND VAJIRA HOSPITAL

This descriptive research aimed to retrospective study the relationship and determine the predictive power of variables that could predict between personal factor, knowledge, attitudes and premarital health check up behavior of the couple formation stage in the women health promotion and family planning unit at BMA Medical College and Vajira Hospital. The samples were 90 couples which were interviewed divided between females were 90 subjects and males 90 subjects. The instruments were personal factors and questionnaires included knowledge, attitude and premarital health check up behavior of the couple formation stage. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and nominal variable changed for dummy variable before analysis by using Pearson’s correlation and  multiple regression analysis.The major findings  were as follows:

The females couple were 90 subjects . There were not to the premarital health check up behavior rate 75.6% attitude about  premarital health check up at moderate level (= 3.02,S.D = 0.618) and lacking of knowledge about premarital health check up rate 84.40 (=4.58,S.D=1.245).Then the males couple were 90 subjects. There were not  to the premarital health check up behavior rate 71.10% attitude about premarital health check up at moderate level (= 3.33,S.D = 0.474 ) and lacking of knowledge about premarital health check up rate 62.20 (= 5.20, S.D = 1.730) The Relationship between personal factors, knowledge, attitude and premarital health  check up behavior of the females couple formation stage. The results showed that Health check up were high level positive relationship to the premarital health check up behavior (r = .804), salary  were moderate level positive relationship to the premarital health check up behavior (r = .363), attitude and knowledge were lower level positive relationship to the premarital health check up behavior (r =.237 and.194 respectively, p-value < .05). For the males  couple formation stage. The result  showed that  attitude were high level positive relationship to the premarital health check up behavior (r = .835), knowledge and the health check up were moderate level positive relationship to the premarital health check up behavior (r = .695 and .570 respectively, p-value < .05). The predicted variable between  personal factors knowledge, attitude with premarital health check up behavior of the couple formation stage in this result showed that the predicted variable premarital health check up behavior of the females couple formation stage  showed a statistically significant were the health check up, attitude and age to investigate the variable that could predict premarital health check up behavior 68.00  percent (R2= .680). In addition, the predicted variable premarital health check up behavior of the males couple formation stage showed a statistically significant were attitude, education, knowledge, the health  check up and occupation to investigate  the variable that could predict premarital health check up behavior  86.90 percent (R2= .869).

Downloads

How to Cite

สีหรัตนปทุม บ., & วิมนมาลา เ. (2016). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของคู่สมรสระยะเริ่มสร้างครอบครัวในหน่วยส่งเสริมสุขภาพสตรีและวางแผนครอบครัว ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. Journal of Public Health Nursing, 27(1), 46–60. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47864