ปัจจัยที่ใช้ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ อาจารย์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, เด็กวัยรุ่นชาย, IMB model, Risky sexual behavior, adolescent boy

Abstract

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพในเชิงลบ เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อ HIV และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ใช้ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายอายุระหว่าง 10 -13 ปีในชุมชนวังน้ำคู้ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 112 คน และบิดา/มารดาจำนวน 10 คน เก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้กรอบแนวคิด Information-Motivation-Behavioral Skills (IMB) model ของฟิชเชอร์และฟิชเชอร์ (Fisher & Fisher, 1992) เก็บรวมรวมข้อมูลเชิงปริมาณกับเด็กชายโดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ที่ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย 3) ทัศนคติในการใช้ถุงยางอนามัย 4) ทักษะการตัดสินใจ 5) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 6) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และ7) พฤติกรรมและประสบการณ์ทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกับเด็กชายและผู้ปกครองโดยใช้การสัมภาษณ์ส่วนบุคคลและการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม

ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กวัยรุ่นชาย ได้แก่ การชักชวนของเพื่อนให้ดื่มสุรา การชักชวนของเพื่อนให้ใช้ยาเสพติด การตัดสินใจดื่มสุรา การชักชวนของเพื่อนให้อ่านหนังสือโป๊ การชักชวนของเพื่อนให้ดูหนังโป๊ และความสะดวกใจในการพูดเรื่องเพศกับพ่อแม่ (R2 = 0.446, F 6, 105 = 14.06, p-value < .05)

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายโดยการเสริมสร้างทักษะด้านการตัดสินใจ ทักษะการปฏิเสธ และทักษะการพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับพ่อแม่ จะช่วยในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายได้

 

PREDICTORS OF RISKY SEXUAL BEHAVIORS AMONG ADOLESCENT BOY PHITSANULOK PROVINCE

Risky sexual activities can result in many negative consequences such as elevated teenage pregnancy rates and growing rates of sexually transmitted Infections. The purpose of this study was to examine predictors of risky sexual behaviors among adolescent boys. 112 boys between 10-13 years of age and 10 parents were recruited by purposive sampling in Wang Num Koo, Munag district, Phitsanulok province. The quantitative data were collected by questionnaires: 1) Demographics of boys; 2) Sexually Transmitted Infections and using condom knowledge; 3) Attitude toward condom use; 4) decision making skills; 5) Self-efficacy 6) Family relationship; and 7) Sexual experiences. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation and multiple regression.  The qualitative data were collected by in-depth interviews and focus group.

The strongest predictors for risky sexual behaviors were friend’s invitation to drink alcohol, friend’s invitation to use drug, alcohol consumption, friend’s invitation to read porno magazines, friend’ s invitation to watch porno movies, and comfortable to talk about sex with parent (R2 = 0.446, F 6, 105 = 14.06, p-value <0.05).

These finding suggest that a tailored intervention program should emphasize promoting decision making skills, refusal skills, and sexual communication with parent to protect risky sexual behaviors among adolescent boys.

Downloads

How to Cite

ทิพย์วารีรมย์ ว., เผ่าวัฒนา อ., & ลาภวงศ์วัฒนา ป. (2016). ปัจจัยที่ใช้ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Public Health Nursing, 27(1), 31–45. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47862