โปรแกรมการเรียนรู้ในการจัดการตนเองเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดบุรีรัมย์

Authors

  • สุพัชรินทร์ วัฒนกุล นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิรัตน์ อิมามี รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุปรียา ตันสกุล รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การจัดการตนเอง, การรับรู้ความสามารถตนเอง, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, SELF-MANAGEMENT, SELF-EFFICACY, PRE-HYPERTENSION GROUP

Abstract

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นสาเหตุการตายและทุพพลภาพที่สําคัญของประชาชนไทยที่ต้องหาแนวทางควบคุมและป้องกันที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้ในการจัดการตนเองเรื่องอาหารและการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 68 รายที่ได้มาโดยการสุ่มแบบมีเกณฑ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 34 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาและการจัดการตนเองเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย โปรแกรมพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเอง ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคม ใช้ระยะเวลาทดลอง 10 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ ได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติ ของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent’s t-test และ Paired sample t-test

ผลการศึกษา พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ การรับรู้ความสามารถในการจัดการตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการจัดการตนเองและพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) และระดับความดันโลหิตลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)

ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่อื่นได้โดยพิจารณาตามบริบทและลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และหน่วยงานสาธารณสุขควรพิจารณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โดยเน้นที่การให้กลุ่มเสี่ยงเรียนรู้ปัญหาของตนเองและฝึกทักษะให้สามารถจัดการปัญหาสุขภาพด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืน

 

LEARNING PROGRAM FOR SELF - MANAGEMENT ON DIET AND EXERCISE OF  PERSONS WITH PRE – HYPERTENSION BURIRUM PROVINCE

Hypertension is a chronic, non-communicable disease which is a leading cause of death and disability of Thai people that needs an effective method for control and prevention. This study was a quasi-experimental research aiming to assess the effectiveness of a self-management program on diet and exercise in blood pressure control of persons with pre-hypertension. The samples were composed of 68 person with pre-hypertension who were selected in accordance with the inclusion criteria. The experimental group and the comparison group were composed of 34 persons each. The experimental group participated in the self-management program on diet and exercise for blood pressure control. This program was developed by applying the concept of self-management, theory of self-efficacy and social support. The program lasted for 10 weeks. For the comparison group, the routine health education program had been implemented for this group. Interview-schedule was used for collecting data. Data analysis was done by computing statistics in regard to percentage, mean, standard deviation, Independent’s t-test and Paired Samples t-test.

The results showed that after the experimentation, the significantly increased levels of knowledge, self-efficacy to do self-management, outcome expectation of practicing self-management, and self-management behaviors on diet and exercise for blood pressure control were found among the experimental group comparing to before the experimentation and the comparison group (p-value < .001). Besides, blood pressure level of the experimental group was found to decrease significantly comparing to before the experimentation and the comparison group (p-value < .001).

The recommendations, based on the research results, are: this type of program can be applied for changing behaviors of persons with pre-hypertension in other areas that have similar contexts and socio-cultural characteristics and in organizing learning activities for persons with pre-hypertension public health organizations should emphasize on having the correctives learned their own problems and training them self-management skills so they can change their behaviors sustainably.

Downloads

How to Cite

วัฒนกุล ส., ธีระวิวัฒน์ ม., อิมามี น., & ตันสกุล ส. (2016). โปรแกรมการเรียนรู้ในการจัดการตนเองเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Public Health Nursing, 27(1), 16–30. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47860