ปัจจัยทำนายความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

Authors

  • ผจงจิต ไกรถาวร อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นพวรรณ เปียซื่อ รองศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุวัจนา น้อยแนม อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน, A sense of community belonging

Abstract

ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนถือเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญที่ทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนชุมชน และทำให้บุคคลกระทำพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ  แต่เนื่องจากปัจจุบันคนในสังคมแข่งขันกันสูงขึ้น อาจส่งผลให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนขาดหายไป  การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และปัจจัยทำนายความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมละแวกบ้าน และแบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบ Enter method ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างในปริมณฑลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.5) มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในระดับสูง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55.5) มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 36.70 และ 33.15 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สิ่งแวดล้อมละแวกบ้าน การรับรู้ภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต และเขตที่อาศัย สามารถร่วมทำนายความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้ร้อยละ 28.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  

ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน โดยให้การสนับสนุนทางสังคม ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในละแวกบ้าน จัดกิจกรรมส่งเสริมให้บุคคลเกิดการรับรู้สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี นอกจากนี้ผลการศึกษายังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

 

FACTORS PREDICTING SENSE OF COMMUNITY BELONGING 

Sense of community belonging is considered as a social capital that is important for empowering and mobilizing community.  Also, it is considered to be important for individual health promoting behaviors. However, currently Thai society changes since people live with high competition. Sense of community belonging might be diminished. The purposes of this descriptive study were to examine sense of community belonging and examine factors predicting sense of community belonging in the community dwellers in Bangkok Metropolitans and suburb. Through convenience sampling, the sample included 400 residents living in both Bangkok Metropolitans and suburb. Data were collected by interviews from the questionnaires including demographic data, a sense of community belonging, social support, neighborhood environment, and the Short Form- 36 Health Survey (SF 36 version 2). The data were analyzed using descriptive statistics and Multiple Regression Analysis. The results demonstrated that majority of the sample living in suburb (70.5%) perceived a high sense of community belonging while those who lived in Bangkok (55.5%) perceived a moderate sense of community belonging (mean=36.70, and 33.15, respectively). Multiple regression analysis revealed that social support, perceived neighbor environment, perceived physical health and perceived mental health, and living setting together explained 28.9% of variance of sense of community belonging.

The results suggest approaches to promote a sense of community belonging by providing social support, improving good environment and facilities, and arranging activities that can enhance perceived physical health and mental health. These results can be also used to develop an effective intervention for promoting sense of community belonging.

Downloads

How to Cite

ไกรถาวร ผ., เปียซื่อ น., & น้อยแนม ส. (2016). ปัจจัยทำนายความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน. Journal of Public Health Nursing, 27(1), 1–15. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47859