ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

Authors

  • ธนพร วรรณกูล อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชลิดา โสภิตภักดีพงษ์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิริยา สุขวงศ์ รองศาสตราจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Keywords:

ประสิทธิผล, โปรแกรมสุขศึกษา, การดูแลตนเอง, ความดันโลหิตสูง, Effectiveness, Health Education Program, Self-care, Hypertension

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา ที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว วัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเกณฑ์คือ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีค่าความดันโลหิต Systolic มากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg และมีค่าความดัน Diastolic มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg โปรแกรมสุขศึกษาประกอบด้วยการสอนสุขศึกษาเรื่องความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด การงดหรือลดปริมาณการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยาอย่างถูกต้อง และการตรวจตามนัด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเอง และเครื่องวัดความดันโลหิต เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงโดยใช้ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

ผลการศึกษานี้แสดงว่าโปรแกรมสุขศึกษา มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรเน้นเจ้าหน้าที่พยาบาลให้คำแนะนำผู้ป่วยในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และในการให้ความรู้ คำแนะนำแต่ละครั้ง ทั้งผู้สอนและผู้ป่วย ควรมีความพร้อม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมควรเอื้อในการเรียนการสอน เลือกเวลา สถานที่ที่เหมาะสม เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิผลสูงสุด 

 

EFFECTIVENESS OF HEALTH EDUCATION PROGRAM APPLYING SELF-CARE THEORY IN HYPERTENSION PATIENT

The research purpose was to study the effective of health education program on self-care knowledge and behavior of hypertension patient. The research used a one group pre test–post test design. The subjects were selected by purposive sampling and specified criteria, consisted of 30 hypertension patients. They were treated by doctor and/or have had systolic blood pressure more than 140 mmHg or diastolic blood pressure more than 90 mmHg. The health education program comprised of teaching for modifying knowledge and behavior on diet consumption, exercise, stress management, decreasing smoking and alcohol drinking, using medication correctly and follow up. The instrument used questionnaires to collect self-care knowledge and behavior. Data were collected  before and after intervention 2 weeks and were analyzed for percentage, mean, standard deviation and dependent t-test. The result showed that after having the health education program applying self-care theory in hypertension patient, the mean score of self-care knowledge and behavior of post-test  were higher than pre-test at the statistical significance of 0.05. The result indicated the effectiveness of health education program on changing self-care knowledge and behavior of hypertension patient.

It is suggested from this research that advise nurses to teach hypertensive patients in community continuing and concerned about ready, appropriate environment, place and time when they guided patients for a highly effective of perception.


Downloads

How to Cite

วรรณกูล ธ., โสภิตภักดีพงษ์ ช., & สุขวงศ์ ว. (2016). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. Journal of Public Health Nursing, 26(3), 106–118. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47831