การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรมร่วมกับการจัดการรายกรณี ในการป้องกันการเกิดซ้ำของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน

Authors

  • ฐิติพร ถนอมบุญ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพร เกิดมงคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม, การจัดการรายกรณี, Elderly patients with diabetes, Hypoglycemia, The Orem's Self-care Applied Theory, Case Management

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรมร่วมกับการใช้การจัดการรายกรณีเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่บ้านโดยการเสริมสร้างความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาหรือฉีดยา และการดูแลสุขอนามัยทั่วไป กลุ่มผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มาพักรักษาด้วยเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ที่หน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัย 30 ราย ระยะเวลาในการศึกษา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ก่อนและหลังการวิจัย ทำการดำเนินการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรมในการให้การพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้โดยใช้การสอนเป็นรายบุคคลร่วมกับการใช้ภาพพลิก แผ่นบันทึกภาพและเสียง (CD-ROM) และปฏิทินชีวิตพิชิตโรคเบาหวาน ร่วมกับการใช้การจัดการรายกรณี โดยการเยี่ยมบ้านและให้การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพโดยมีผู้วิจัยเป็นผู้จัดการรายกรณีเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมวิจัยในแต่ละราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการวิจัยกลุ่มผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่เข้าร่วมการวิจัยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ระดับความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยภายหลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) และระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลลดลงกว่าก่อนการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนระดับความพึงพอใจในการให้การพยาบาลมีคะแนนอยู่ในระดับดีมากในทุกขั้นตอนการดูแล

จากผลการวิจัยนี้ จึงสนับสนุนว่าการจัดโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรมร่วมกับการใช้การจัดการรายกรณีเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้สูงอายุโรคเบาหวานสามารถช่วยเพิ่มความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง พร้อมทั้งยังทำให้ค่าน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงลดลง และยังทำให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่เข้าร่วมการวิจัยเกิดความพึงพอใจในการให้การพยาบาลสูงขึ้น รวมทั้งสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

 

THE APPLICATION OF OREM THEORY WITH CASE MANAGEMENT FOR PREVENTTION RECURRENT HYPOGLYCEMIA IN ELDERLY

The objective of this quasi-experimental research is to analyze the effects of the applied program of The Orem's Self-care Applied Theory and using case management as a framework to prevent or reduce severe Hypoglycemia in the elderly patients with diabetics and to enhance knowledge of diabetes and changes in self-care behaviors in eating, exercise, medication or injection and the general hygiene. The experiment group are 30 elderly patients with diabetes who admitted with Hypoglycemia at Emergency room at King Chulalongkorn Memorial Hospital within 12 weeks. The data had collected by interview before and after applied The Orem's Self-care Applied Theory in nursing support and knowledge by teaching the individual including using videos and overcome diabetes calendar together with supplementary of case management by home visits and a multidisciplinary care to accommodate the participants in each and analyze by using The percentage, Standard Deviation, Independent t-test and Paired t-test statistical analysis.

After program, the results showed that the elderly patients with diabetes participating in the study had an average score of knowledge about diabetes level higher than before the study in statistical significance (p-value < .001). Regarding self-care behaviors of elderly patients with diabetes with  a mean score is higher than before in statistical significance (p-value<.001) And the mean of FBS is lower in statistical significance (p-value<.001) and the satisfaction score is in the high satisfaction in all care processes.

From the result of this research shows that the applied program of The Orem's Self-care Applied Theory and using case management as a guide prevent or reduce severity of Hypoglycemia in the elderly patients with diabetes can enhance knowledge of diabetes and changes in self-care behaviors As well as to reduce the accumulation of FBS decreased and the elderly patients with diabetic participant satisfaction was likely high befor. This research also can make the elderly patients with diabetic live with their underlying disease with happiness and quality of life.

Downloads

How to Cite

ถนอมบุญ ฐ., จันทนะโสตถิ์ พ., อำนาจสัตย์ซื่อ ข., & เกิดมงคล พ. (2016). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรมร่วมกับการจัดการรายกรณี ในการป้องกันการเกิดซ้ำของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. Journal of Public Health Nursing, 26(3), 94–105. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47829