ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร
Keywords:
พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, แรงงานนอกระบบ, Health promoting behaviors, Aging, Informal workersAbstract
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 144 คน ที่อาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครใน 6 เขตการปกครองโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคว์–สแควร์ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยแบบพหุขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 60.4) ความรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อายุ การศึกษา และความเพียงพอของรายได้ การเข้าถึงบริการสุขภาพ นโยบายการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน และ การได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุข การรับรู้ภาวะสุขภาพ ประเภทของอาชีพ จำนวนวันที่ทำงานในหนึ่งสัปดาห์ และจำนวนชั่วโมงในการทำงานต่อหนึ่งวันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p– value < .05) และทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุข อาชีพ การศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ จำนวนวันที่ทำงานในหนึ่งสัปดาห์ สามารถทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบได้ ร้อยละ 46.0 (R2 = 0.460)
ข้อเสนอแนะผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร โดยเบื้องต้นพยาบาลสาธารณสุขสามารถนำสิ่งที่ได้จากการวิจัยไปพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จากนั้นศูนย์บริการสาธารณสุขและชุมชนควรมีการนำโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพไปใช้ในประชากรกลุ่มต่างๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิการของผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบ มีการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารและภาคีเครือข่ายในผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบ เพื่อกระตุ้นให้แรงงานนอกระบบมีส่วนร่วมในพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ นอกจากนี้กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุขควรให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายสุขภาพเกี่ยวกับสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องทำงาน
FACTORS RELATED TO HEALTH PROMOTING BEHAVIORS AMONG INFORMAL AGING WORKERS IN BANGKOK
Thailand has an aging population problem, which has had an impact on the Thai health system. This research aimed to examine the health promoting behaviors and its related factors among aging workers in Bangkok. One hundred and forty - four older adults who worked and lived in Bangkok were interviewed by using a questionnaire. According to Chi–Square and Pearson’s Product Moment Correlation, Stepwise multiple regression
It was found that 60.4% of respondents maintained their health promoting behaviors at a high level. attitudes and knowledge on health promoting behaviors, age, education, sufficient income, access to health services, health promoting policy in community, social support from the public health personnel, perceived health status, type of occupation, numbers of working days in a week, and numbers of daily working hours were related to health promotion behavior among informal aging workers in Bangkok (p–value < .05). And Stepwise multiple regression revealed that attitudes about health promoting behaviors, social support from the public health personnel, occupation, education, perceived health status, and numbers of working days in a week can jointly explain about 46.0%
The findings can be used to support health-promoting behaviors among informal aging workers in Bangkok. First, public health nurses can develop a program to improve awareness of health promoting behaviors, particularly those who worked as vender traders or labors. Second, community and public health centers should provide an outreach program to promote the health and welfare of informal aging workers. Communication systems within the elderly network should be developed in order to motivate informal workers to use health promoting behaviors. The Ministry of Labour and the Ministry of Public Health should pay more attention to extending health policies that improve the welfare for the older adults who need to work.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)