ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของการเป็น “เด็กแว้น” หรือ “เด็กสก๊อย” ในนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร

Authors

  • เยาวลักษณ์ แดงแท้ พยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
  • สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ, นักศึกษาอาชีวศึกษา, วัยรุ่น, เด็กแว้น, เด็กสก๊อย, Health risk behaviors, Vocational students, Adolescent, Vanz boys, Skoi girls

Abstract

การวิจัยพรรณนาเชิงนี้ประยุกต์แนวคิด PRECEDE  เป็นกรอบแนวคิด เพื่อศึกษา ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ของการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเหล่านี้กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเป็น “เด็กแว้น” หรือ “เด็กสก๊อย” จากสถาบันอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีให้ตอบแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม พ.ศ.2554 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi – Square tests และ Spearman rank correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 10.2 มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือปัจจัยนำได้แก่ เพศ (χ2 = 25.818, p-value < .001) สัมพันธภาพในครอบครัว (χ2 = 6.821, p-value = .009) ผลการเรียน (rs = - 0.154, p-value = .002) ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงลบ และค่านิยม (rs = 0.502, p-value < .001) ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวก ปัจจัยเอื้อได้แก่ การมี/ ใช้รถจักรยานยนต์ (χ2 = 6.758, p-value = .009) และข้อมูลข่าวสาร (χ2 = 12.626, p-value < .001) และปัจจัยเสริมได้แก่ ครอบครัว (χ2 = 14.225, p-value =.001) และเพื่อน (χ2 = 8.175, p-value = .043) ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า ครอบครัวควรส่งเสริมให้เกิดสัมพันธ-ภาพที่ดีในครอบครัว ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ที่ถูกต้อง ให้คำแนะนำในการเลือกคบเพื่อนที่ดี สังเกตและช่วยควบคุมพฤติกรรมการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางต่างๆ เพิ่มความเข้มงวด มีข้อบังคับ เพื่อควบคุมการใช้รถจักรยานยนต์ของนักศึกษา และส่งเสริมให้นักศึกษามีพฤติกรรมการขับขี่ที่ถูกต้อง ปลอดภัย และควรให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือ แก้ไข และป้องกันเพื่อช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ

 

FACTORS RELATED TO HEALTH RISK BEHAVIORS OF VANZ BOYS” ORSKOI GIRLS” AMONG STUDENTS IN  VOCATIONAL SCHOOLS BANGKOK METROPOLITAN

This descriptive research applied the PRECEDE framework as a conceptual framework. The aims of the study were to at examine health risk behaviors, predisposing factors/ enabling factors/ reinforcing factors of health risk behaviors, and the relationship between predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and health risk behaviors. The samples were 420 “vanz boys” or “skoi girls” students in vocational schools, Bangkok metropolitan. Data were collected by using the questionnaire from February 1 to March 15 B.E. 2554. Chi – Square tests and Spearman rank correlation coefficience were use to analyze the data. The findings of the study revealed that samples had a high level of health risk behaviors (10.2%). Factors that were significantly related to health risk behaviors were gender (χ2 = 25.818, p-value < .001), family relationship (χ2 = 6.821, p-value = .009), academic performance (rs = - 0.154, p-value = .002) having negative relationship, value (rs = 0.502, p-value < 0.001) having positive relationship, motorcycle possession/use (χ2 = 6.758, p-value = .009), sex information (χ2 = 12.626,  p-value < .001), families (χ2 = 14.225, p-value =.001), and friends (χ2 = 8.175, p-value = .043). The results suggested that in order to reduce health risk behavior of “vanz boys” or “skoi girls”, families should enhance good family relationship patterns, give advices about making friends, observe and control behaviors of acquiring information, give advices and cultivate proper value, strictly control motorcycle use of them, and promote safe driving behavior. 

Downloads

How to Cite

แดงแท้ เ., เตรียมชัยศรี ส. ก., จิระพงษ์สุวรรณ แ., & เอื้อมณีกูล น. (2016). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของการเป็น “เด็กแว้น” หรือ “เด็กสก๊อย” ในนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร. Journal of Public Health Nursing, 26(3), 63–79. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47825