ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถูกกระทำรุนแรงของพยาบาลในสถานประกอบการ

Authors

  • อารยา เชียงของ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • อรวรรณ แก้วบุญชู รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกมล ชาญสาธิตพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การถูกกระทำรุนแรงในสถานที่ทำงาน, พยาบาลในสถานประกอบการ, Workplace violence, Nurse in industry

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความเสี่ยงระหว่างของปัจจัยระดับบุคคลได้แก่ เพศ อายุ อายุการทำงานในสถานประกอบการ การรับรู้ความรุนแรง บุคลิกภาพ ปัจจัยระดับสัมพันธภาพ และปัจจัยในการทำงาน กับการถูกกระทำความรุนแรงของพยาบาลในสถานประกอบการ โดยใช้แนวคิดนิเวศวิทยา (Ecological model) ในการอธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงในสถานที่ทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลในสถานประกอบการจำนวน 330 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง โดยการตอบแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ทั้งหมด 500 ชุด ได้แบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์คืน 330 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 66 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ความเสี่ยงสัมพัทธ์

ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจมากที่สุดร้อยละ 27.6 รองลงมาเคยถูกกระทำรุนแรงทางเพศร้อยละ 12.4 และเคยถูกกระทำรุนแรงทางร่างกายกายเพียงร้อยละ 3.9 ปัจจัยป้องกันการถูกกระทำรุนแรงทางร่างกาย คือการรับรู้ความรุนแรงทางร่างกายระดับต่ำ/กลาง (OR = 0.14 , 95% CI 0.04 – 0.53) ปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรงทางร่างกาย คือบุคลิกภาพด้านความหวั่นไหวทางอารมณ์ระดับสูง/กลาง (OR 11.26 95% CI 2.45 – 51.75) การเปิดรับประสบการณ์และด้านการยอมรับผู้อื่นระดับต่ำ/กลาง(OR 1.06 95% CI 1.03– 1.09; OR = 24.56, 95% CI 15.03 – 113.80) ปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจได้แก่  การรับรู้ความรุนแรงทางจิตใจและทางเพศระดับต่ำ/กลาง (OR = 24.56, 95% CI 15.03 – 113.80; OR = 3.40, 95% CI 1.85 - 6.27) บุคลิกภาพด้านการยอมรับผู้อื่นระดับต่ำ/กลาง (OR = 2.73, 95% CI 1.57 - 4.76) สัมพันธภาพด้านการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระดับต่ำ/กลาง (OR = 2.77, 95% CI 1.54 - 4.99; OR = 2.56, 95% CI 1.40 - 4.81) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง และค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงระดับต่ำ/กลาง(OR = 4.50, 95% CI 2.15 - 9.42; OR 2.41 95%CI 1.04 – 5.60) ปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรงทางเพศ ได้แก่ เพศ อายุการทำงาน และค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง (OR = 4.60, 95% CI 1.59 – 13.28; OR = 3.54, 95% CI 1.67 - 7.48 ;OR = 3.54, 95% CI 1.67 - 7.48) ปัจจัยป้องกันการถูกกระทำรุนแรงทางเพศได้แก่ บุคลิกภาพการแสดงออกต่อสังคม การเปิดรับประสบการณ์ และการมีมโนสำนึกระดับต่ำ/กลาง (OR = 0.10, 95% CI 0.04 - 0.23; OR = 0.15, 95% CI 0.07 - 0.29; OR = 0.21, 95% CI 0.09 - 0.52) และสัมพันธภาพด้านการเชื่อถือไว้วางใจระดับต่ำ/กลางเป็นปัจจัยป้องกัน (OR = 0.44,  95% CI 0.23 - 0.87)  

ผลการศึกษาเสนอแนะข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการถูกกระทำรุนแรงให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานพยาบาลอาชีวอนามัย เพื่อป้องกันพยาบาลในสถานประกอบการจากความเสี่ยงต่อการถูกกระทำความรุนแรงในสถานที่ทำงาน

 

FACTORS RELATED TO WORKPLACE VIOLENCE AMONG NURSES WORKING IN INDUSTRY

This research is a cross-sectional study which aimed at examing the factors related to violence against nurses in industry. The factors composed of personal factors (gender, age, work experience, workplace violence perception, personality), work relationship factors and work environment factors by applying the ecological model for understanding violence in a conceptual framework. The samples were 330 nurses working in industry. The data were collected by a set of self-administered questionnaires to 500 of the 330 questionnaires that were completed, responded rate of 66.0%. Statistical analysis was performed by frequency, percentage, median, and odd ratio.    

Results showed a prevalence of 27.6% for emotional abuse, followed by sexual harassment (12.40%) and physical assaults (3.9%). The protective factor for physical assaults was physical assault perception at a low/median level (OR = 0.14, 95% CI 0.04 – 0.53) and risk factors of physical assaults related to personality factors, and neuroticism at a high/median level (OR 11.26, 95% CI 2.45 – 51.75), openness and agreeableness at a low/median level (OR = 1.06, 95% CI 1.03 – 1.09; OR = 24.56, 95% CI 15.03 – 113.80). The risk factors for emotional abuse were emotional abuse perception and sexual harassment perception at a low/median level (OR = 24.56, 95% CI 15.03 – 113.80; OR = 3.40, 95% CI 1.85 - 6.27), and the personality factor was agreeableness at a low/median level (OR = 2.73, 95% CI 1.57 – 4.76); the relationship factor was mutual help at a low/median level (OR = 2.56, 95% CI 1.40 - 4.81), and the work factors were violence related policy and violence-related values at a low/median level (OR = 4.50, 95% CI 2.15 - 9.42; OR 2.41 95% CI 1.04 – 5.60). The risk factors related to sexual harassment were gender and work experience, and violence related values at a low/median level (OR = 4.60, 95% CI 1.59 – 13.28; OR = 3.54, 95% CI 1.67 - 7.48;OR = 3.54, 95% CI 1.67 - 7.48); the protective factors related to sexual harassment were personality factors were extraversion, openness and conscientiousness at a low/median level(OR = 0.10, 95% CI 0.04 - 0.23; OR = 0.15, 95% CI 0.07 - 0.29; OR = 0.21, 95% CI 0.09 - 0.52);the relationship factors, confidence and trust at a low/median level (OR = 0.44, 95% CI 0.23 - 0.87).  

Results of the study suggested factors related to violence for agencies associated with occupational nurses to protect them from workplace risk violence in factories.

Downloads

How to Cite

เชียงของ อ., เอื้อมณีกูล น., จันทนะโสตถิ์ พ., แก้วบุญชู อ., & ชาญสาธิตพร ณ. (2016). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถูกกระทำรุนแรงของพยาบาลในสถานประกอบการ. Journal of Public Health Nursing, 26(3), 45–62. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47824