การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาที่มีบุตรอ้วน
Keywords:
ภาวะอ้วน, เด็กวัยเรียน, ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค, กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, พฤติกรรมการเลี้ยงดู, Obesity, School age, Protection Motivation theory, Participatory leaning, Child rearingAbstract
พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรปัจจุบันมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตที่สมวัยอย่างมาก เนื่องจากพบว่าเด็กวัยเรียนนั้นมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาที่มีบุตรอ้วน โดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 (อายุ 9-11 ปี) ทีมีภาวะอ้วน จากโรงเรียน 2 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 68 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทั้งหมด 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฉิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Repeated one way ANOVA , ANCOVA และ Independence t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในเด็กที่มีภาวะอ้วน ความคาดหวังถึงผลของการมีพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .005) และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนและความคาดหวังถึงผลของการมีพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .005) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง พบว่า หลังการทดลองและระยะติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในเด็กที่มีภาวะอ้วน ความคาดหวังถึงผลของการมีพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .005) และ ในระยะติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคอ้วน สูงกว่าก่อนการทดลองและหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .005)
ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาที่มีบุตรอ้วน สามารถช่วยเพิ่มการรับรู้ให้กลุ่มตัวอย่างได้ แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะติดตามผล จึงควรมีการปรับปรุงในด้านการกระตุ้นเตือนที่มีการสื่อสารได้ทางตรงและถี่มากขึ้น
AN APPLICATION OF HEALTH PROTECTION MOTIVATION THEORY FOR CHILD REARING IN MOTHERS OF OBESE CHILDREN
Present behavior child rearing in mothers of children had importance development appropriated because obesity in children school age had increased leading to other complications. The purpose of this quasi-experimental study was to evaluate the effect of the application of health protection motivation theory for child rearing in mothers of obese children. The sample included mothers of obese children aged 10-11 years studying in Prathomsuksa 4th-5th from 2 schools in Bangkok with 68 select group by simple random sampling. One group was selected as the experimental group with 34 and the other was selected as the comparison group with 34 mothers of obese children. The research procedure was 5 weeks for intervention period. This program applied Protection Motivation Theory and Participatory Learning. Data were collected by questionnaires. Statistical analysis was performed by using percentage, mean, standard deviation, repeated one way ANOVA, ANCOVA and Independence t-test.
The result of this study indicated that, after the experiment, the experimental group had significantly high mean score of perceived severity of obesity, perceived risk of complications and outcome expectation of obesity preventive behaviors than the comparison group (p-value < .005) and follow up the experimental group had significantly high mean score of perceived risk of complications and outcome expectation of obesity preventive behaviors than the comparison group (p-value < .005). After the experiment and follow up, the experimental group had significantly high mean score of perceived severity of obesity, perceived risk of complications and outcome expectation of obesity preventive behaviors than before the experiment (p-value < .005) and follow up had significantly high mean score of perceived self-efficacy expectation of obesity prevention than before the experiment and after the experiment (p-value < .005).
The result of this study indicate that the application of health protection motivation theory for child rearing in mothers of obese children had some effect on increasing perception, although behavior did not change over time in follow up. Accordingly, we should improve arouse awareness had communication direct way had to be done frequently.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)