ประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

Authors

  • ภูดิท เตชาติวัฒน์ อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พัชรินทร์ สิรสุนทร รองศาสตราจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์, กองทุนสุขภาพชุมชน, การมีส่วนร่วม, Strategic Root Map, Local Health Insurance Fund, Participation

Abstract

การวิจัยเชิงประเมินผล ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่นำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Root Map: SRM) มาใช้ ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) ประเมิน 10 กองทุน ในจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาท วิธีการศึกษาเป็นทั้งเชิงคุณภาพ และ การศึกษาเชิงปริมาณ โดยการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์กลุ่ม การสัมภาษณ์เจาะลึก และใช้แบบสอบถาม ในกลุ่มคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น(กองทุนสุขภาพชุมชน) ผู้รับผิดชอบโครงการ และประชาชนผู้รับผลประโยชน์จากโครงการรวม จำนวน 172 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์แก่นสาระและค่าร้อยละ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี 6 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า วัตถุประสงค์ของกองทุน และการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์มีความสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพชุมชนส่วนใหญ่ขาดความพร้อมในการดำเนินการ ได้รับการอบรม SRM ร้อยละ 60 มีความเข้าใจเกี่ยวกับ SRM เป็นส่วนน้อย และพบว่าข้อมูลข่าวสารและงบประมาณมีความพอเพียงต่อการจัดการปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ด้านกระบวนการบริหารกองทุนสุขภาพชุมชน สรุปได้ 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบนำกระบวนการของ SRM มาใช้เต็มรูปแบบ 2) รูปแบบการนำกระบวนการของ SRM มาใช้บางส่วน สิ่งที่แตกต่างกันคือ การเตรียมความพร้อมผู้เข้าร่วมวางแผน การวางแผน บทบาทของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม  และการอนุมัติโครงการ ส่วนสิ่งที่เหมือนกัน คือ ลักษณะโครงการ เป็นแบบประชาชนมีส่วนร่วม และโครงการแบบมอบบริการหรือการส่งเคราะห์ นอกจากนี้ พบว่า การแบ่งหน้าที่ในคณะกรรมการ และการติดตามประเมินผลโครงการยังไม่มีความชัดเจน ด้านผลผลิต พบว่า บรรลุตามวัตถุประสงค์ 3 ข้อของกองทุน คือ 1) ด้านการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพ 2) ด้านการสนับสนุนงบประมาณเน้นในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ 3) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น

 

EFFECTIVENESS OF THE LOCAL HEALTH INSURANCE FUND’S MANAGEMENT BY USING STRATEGIC ROOT MAP

This research objective was to evaluate the effectiveness of the local Health Insurance Fund’s management by using Strategic Root Map (SRM). The researchers adopted CIPP model for systematic evaluation. Ten of the Local Health Insurance Fund from 5 provinces including Chainat, Phichit, Nakhonsawan, kumpangpet and Utaitanee were investigated. Qualitative and Quantitative methods were applied. Research tools included guidelines for group and in-depth interview and questionnaires. Key informants were committees of the local Health Insurance Fund, project directors and project participants, in total 172 persons. Thematic analysis and percentile were adopted for data analysis. The project spent 1 year and six months.

The study found that the objective of SRM and the local Health Insurance Fund were related to health problems. In term of input factors, the study found that most of the local Health Insurance Fund’s committees were lack of readiness. Although there were 60% of them were trained, but only few understood about SRM. The data and budget were also sufficient for health community management. There were two management models found in this study. First, full application of SRM was applied. Second, partly applied SRM projects affected the operation process. The difference of both types of management models were in terms of participant preparing for planning, planning, role of participant and project approval. Meanwhile, there was no different in activity of projects. However, both types of management models confronted problems in terms of unclear division of work and evaluation and following up of Projects. In term of output, the community funds were able to achieve their goals. These were 1) people were able to assess health promotion services  2) the use of budget of all community funds was mostly focused on health promotion activities; and 3) after applying SRM all local Health Insurance Funds increased participation level.


Downloads

How to Cite

เตชาติวัฒน์ ภ., สิรสุนทร พ., วนรัตน์วิจิตร ศ., & กิจธีระวุฒิวงษ์ น. (2016). ประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์. Journal of Public Health Nursing, 26(3), 1–15. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/47810