ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมอง ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
Keywords:
การปฏิบัติการดูแลที่บ้าน, ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยผ่าตัดสมอง, home care practice, protection motivation theory, caregivers, neurosurgical patientsAbstract
ผู้ป่วยผ่าตัดสมองเป็นผู้ที่ประสบปัญหาภายหลังการผ่าตัด และจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยใช้แนวคิดทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองที่บ้านโดยเป็นผู้ดูแลหลัก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 130 ราย ที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันประสาทวิทยาและโรงพยาบาลราชวิถี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคว์-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.2 ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 19.44 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่มีการรับรู้ความรุนแรงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติการดูแลที่บ้าน การรับรู้ความคาดหวังถึงผลการตอบสนองต่อการปฏิบัติการดูแลที่บ้าน และการปฏิบัติการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองอยู่ในระดับสูง เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ความรุนแรงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ความคาดหวังถึงผลการตอบสนองต่อการปฏิบัติการดูแลที่บ้าน มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการปฏิบัติการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.466, r = 0.341, r = 0.486, r = 0.583, p-value < .05) และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติการดูแลที่บ้าน การรับรู้ความรุนแรงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความคาดหวังถึงผลของการตอบสนองต่อการปฏิบัติการดูแลที่บ้าน สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการปฏิบัติการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองได้ ร้อยละ 45.5
ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างการปฏิบัติการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองให้ดีขึ้น โดยพยาบาลควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และฝึกฝนทักษะในการดูแล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความกลัว และทำให้ผู้ดูแลมีความมั่นใจในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อกลับไปบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Factors related to home care practice among caregivers for totally dependent neurosurgical patients
Neurosurgical patients always experience problems after surgery and then the burden of their support falls upon caregivers. The objective of this cross-sectional study was to identify the factors related to home care practice for caregivers of those patients by applying the Protection Motivation Theory. The sample included caregivers of the patients who completed a questionnaire for the Out-Patient Department of the Prasat Neurological Institute and Rajavithi Hospital. A Total of 130 subjects were selected through purposive sampling. Data was analyzed by statistics, frequency, mean and standard deviation, chi-square, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression.
The results showed that most caregivers were females (66.2%) who spent approximately 19.44 hours per day caring for patients. Most caregivers perceived the severity and the susceptibility for complications. Their self-efficacy and response efficacy acumen was at a high level for home care practice and in the treatment of caregivers for neurosurgical patients. When performing correlation, there were associations between perceived severity, perceived susceptibility of complication, perceived self-efficacy, and response efficacy towards home care practice among caregivers of neurosurgical patients (r = 0.466, r = 0.341, r = 0.486, r = 0.583, p-value < .05). When using stepwise regression analysis, the predictable variables for home care practice were perceived self-efficacy, perceived severity, and perceived response efficacy which accounted for 45.5% of total variance for home care practice among caregivers.
The results of this study suggest the addition of home care practice among caregivers for neurosurgical patients. The nurse should be responsible for educating, preventing complications, and providing care in order to encourage caregivers to have a higher degree of self-efficacy. This will help to reduce anxiety and insure that caregivers have the confidence to assist patients when they return home.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)