ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอานาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและ ความเจ็บปวดข้อเข่าผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม อาเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์
Keywords:
โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ความเจ็บปวดข้อเข่า, ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม, empowerment program, self -care behaviors, pain level, elderly with osteoarthritisAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและความเจ็บปวดข้อเข่าผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้าง พลังอำนาจ โปรแกรมประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นพบสถานการณ์จริง 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติตนที่มีประสิทธิภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม และ แบบวัดความเจ็บปวดข้อเข่า มีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Independent t-test และ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ มีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดข้อเข่าต่ำกว่าก่อนทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ผลการศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมดูแลตนเองดีขึ้นและลดความเจ็บปวดจากข้อเข่าเสื่อม
Effects of Empowerment Program on Self -care Behaviorsand Pain Level among Older AdultsOsteoarthritis, Muang District, NakhonSawan Province
This quasi-experimental research was to study the effects of empowerment program on self-care behaviors and pain level among elderly with osteoarthritis. Sixty older adults, who were diagnosed with osteoarthritis, were divided into 2 groups, 30 subjects for experimental group, and 30 subjects for control group. The experimental group received an empowerment program, while the control group received the general healthcare program. The program consisted of 4 steps: 1) Discovering reality, 2) Critical reflection, 3) Taking charge, and 4) Holding on. Self-care behaviors and pain level were assessed by using the questionnaire. The Cronbach's alpha coefficient of self-care behaviors questionnaire was 0.89. Statistical analysis was performed by using percentage, mean, standard deviation, independent t-test, and paired t-test.
The results revealed that, after the experiment, the experimental group had a significantly higher mean score of self-care behaviors than before and those in the control group (p-value <.001).The experimental group also had a significantly lower pain level than before and those in the control group (p-value <.001)
The results could be applied to guide appropriate activities to promote self-care behaviors of elderly and decrease knee pain.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)