การวิเคราะห์งานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เผยแพร่ในวารสารพยาบาลสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2552
Keywords:
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค, การวิเคราะห์งานวิจัย, Health Promotion and Disease Prevention, Research AnalysisAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์งานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เผยแพร่ในวารสารพยาบาลสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2552 จากการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งหมด 110 เรื่อง เป็นงานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจานวน 90 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 81.1 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.7) อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ประมาณ 3 ใน 4 มีรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา มีกลุ่มตัวอย่าง 301-400 คน (ร้อยละ 21.5) การวิจัยแบบกึ่งทดลองทั้งหมดมีกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 30 คน มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 57.8) ไม่ได้ระบุว่ามีการใช้แนวคิดหรือทฤษฎีใดเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ส่วนงานวิจัยที่มีการระบุแนวคิดหรือทฤษฎี (ร้อยละ 42.2) เป็นการใช้ทฤษฎีในระดับบุคคล เช่น ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ และ ทฤษฎีการปรับตัว เป็นต้น ผลลัพธ์หลักที่ศึกษาเป็นการส่งเสริมสุขภาพเฉพาะพฤติกรรม (ร้อยละ 28.9) และเป็นการศึกษาถึงสุขภาวะทางเพศมากที่สุด (ร้อยละ 12.2) รองลงมาคือการจัดการความเครียดหรือความวิตกกังวล (ร้อยละ 5.6) ผลลัพธ์หลักที่ได้รับความสนใจรองลงมาคือ พฤติกรรมการดูแลตนเอง (ร้อยละ 14.4) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ร้อยละ 12.2) ส่วนผลลัพธ์หลักที่ยังมีการศึกษาค่อนข้างน้อย ได้แก่ การสร้างแนวปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ และการสื่อสารสุขภาพ จึงควรมีงานวิจัยที่พัฒนาแนวปฏิบัติ รูปแบบการเรียนการสอน และการถ่ายทอดข้อมูลสุขภาพ โดยสร้างการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
An Analysis of Health Promotion and Disease Prevention Research Published in Journal of Public Health Nursing between 1997-2009
The purpose was to study and analyze health promotion and disease prevention research articles published in Thai Journal of Public Health Nursing from1997 to 2009. The findings indicated that among 111 published articles, 90 (81.1 %) focused on health promotion and disease prevention. Most of the samples (66.7%) were adults. Three fourth was descriptive research design including the sample about 301-400 persons (21.5%). All of the quasi experiment studies included the sample more than 30 persons. More than half (57.8%) did not address any underlying theory or concept. The others used individual level theory such as Self-efficacy theory, Health Promotion Model, and Adaptation theory. Main outcomes were specific health promotion behavior (28.9%) such as sexual health (12.2%), and stress and anxiety management (5.6%). The following main outcome was self-care behavior (14.4%); especially in chronic disease patients (12.2%). The less published health promotion and disease prevention issues were health promotion practice guideline, health promotion and disease prevention teaching model development, and health communication. It is recommended that health promotion research should pay more attention to develop practice guideline, teaching strategies, and health dissemination.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)