งานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพวัยทางาน: ผลจากการทบทวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลสาธารณสุข
Keywords:
การวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ, วัยทางาน, การทบทวนงานวิจัย, Health promotion research, Working populations, Research reviewAbstract
การทบทวนผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบจะสามารถช่วยสังเคราะห์องค์ความรู้และกาหนดทิศทาง การวิจัยที่เหมาะสมได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงลักษณะของการวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ วัยทางาน โดยการทบทวนเชิงวิเคราะห์บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลสาธารณสุข ย้อนหลัง 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 – 2552 บทความวิจัยที่สืบค้นได้ถูกนามาวิเคราะห์ในด้าน รูปแบบการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มอาชีพที่ศึกษา ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ประเด็นที่ศึกษาและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า มีบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพวัยทางาน จานวน 22 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (ร้อยละ 77.3) และมีการวิจัยเชิงทดลอง 3 เรื่อง (ร้อยละ 13.7) และเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ 1 เรื่อง กลุ่มอาชีพที่ถูกศึกษามากที่สุดคือ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม รองลงมา คือ พยาบาล จานวนกลุ่มตัวอย่างสาหรับการวิจัยเชิงพรรณนาส่วนใหญ่มีขนาดมากกว่า 400 คน (ร้อยละ 35.3) ประเด็นที่ศึกษาส่วนใหญ่ได้แก่ ภาวะสุขภาพคนทางานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุกรอบแนวคิด/ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของการวิจัย กรอบแนวคิดที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นฐานของการวิจัยมากที่สุดคือ แนวคิดทางอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 22.8) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่เป็นแบบสอบถาม มีการศึกษาร้อยละ 27.3 ที่มีการประเมินสภาวะสุขภาพด้วยการตรวจร่างกายของกลุ่มตัวอย่าง
ข้อค้นพบจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพวัยทางาน ที่ผ่านมาได้ให้ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพวัยทางานในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพที่หลากหลาย ในอนาคตการศึกษาควรมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสร้างเสริมสุขภาพและงานวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพสาหรับแรงงานนอกระบบ
Health Promotion Research in Working Populations: A Review of Studies Published in Thai Journal of Public Health Nursing
Integrative reviews of the published studies can lead to developing new knowledge and provide the direction for future research. This study aimed to describe health promotion research conducted with a focus on working populations. The design was an analytic review of studies published between the year 2000 to 2009 in Thai Journal of Public Health Nursing. Studies relevant to promoting health of working population were located and systematically reviewed. Design, theoretical framework, sample occupation, sample size, studied variables, and instrument used were examined.
Results showed that most studies were descriptive (77.3%). Of 22 studies, 3 (13.7%) used quasi-experimental design. Only one study used qualitative method. Industrial workers and nurses were the occupation frequently studied. Regarding sample size, 35.5% had sample of more than 400. Most reviewed studies focused on exploring factors related to health status of workers. While most of the studies did not describe the theoretical framework used, the concept of occupational health and safety was most frequently reported (22.8%) among those that indicated the theoretical basis of the study. The most often used instrument was the questionnaire. About 27.3% of the reviewed studies included health assessment as the method of data collection.
The findings indicated that research conducted in the area of promoting in working population addresses needs of diverse occupation groups. Future research needs to include more intervention studies assessing the effectiveness of the health promotion program and studies addressing health promotion services among informal workers.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)