การวิเคราะห์งานวิจัยการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลสาธารณสุข
Keywords:
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค, โรคเรื้อรัง, การวิเคราะห์งานวิจัย, Health promotion research, Chronic illness, Research reviewAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนเชิงวิเคราะห์บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลสาธารณสุขในช่วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2543-2552 ในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งวิเคราะห์ในด้านประเด็นของโรคเรื้อรัง กลุ่มประชากรและขนาดตัวอย่าง รูปแบบการวิจัย กรอบแนวคิดทฤษฏีและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งสรุปผลการวิจัยและนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยแจกแจงความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่ามีบทความวิจัยในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 14 เรื่อง จากบทความวิจัยทั้งหมดจำนวน 90 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 15.5 โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา 9 เรื่อง (ร้อยละ 64.3) และขนาดของตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีตั้งแต่ 120 คนถึง 1,250 คน ส่วนการวิจัยกึ่งทดลอง 5 เรื่อง (ร้อยละ 35.7) มีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 50-60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ประเด็นของโรคเรื้อรังพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคมะเร็งเต้านม โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเอดส์ โรคธาลัสซีเมีย และโรคกระดูกพรุน สำหรับแนวคิดทฤษฏีที่นำมาประยุกต์ใช้พบว่ามีการนำทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 2002) ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจของกิบสัน (Gibson, 1995) ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม (Orem, 1991) ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมาย ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) แนวคิดความเข้มแข็งอดทนทางสุขภาพของโพล็อค แนวคิดกระบวนการกลุ่มช่วยเหลือตนเอง แนวคิดการพัฒนาศักยภาพชุมชนของสัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541) และองค์ประกอบชุมชนเข้มแข็งของ ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์ (2543) รูปแบบนิเวศน์วิทยาทางสังคมของบรอนเฟนเบรนเนอร์ (Bronfenbrenner, 1981) แนวคิดพื้นฐานของการจัดกลุ่มช่วยเหลือตนเองและแนวคิดพหุภาคี ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่ามีทั้งแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบวัด / แบบประเมินสมรรถนะ/ แบบบันทึก
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยเอกสาร คือแหล่งทุนวิจัยต่างๆ ควรให้การสนับสนุนทุนวิจัยในด้านการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ที่เน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน วารสารวิชาการทางสุขภาพควรเพิ่มคอร์ลัมการตีพิมพ์บทความวิจัยในด้านนี้เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาให้แก่นักวิชาการและผู้ที่สนใจ
An Analysis of Health Promotion and Disease Prevention Research in Chronic Illness Populations: Published in Thai Journal of Public Health Nursing
The purpose of this documentary research was to conduct an integrative literature review of the articles published in the Thai journal of Public Health Nursing during the period from 2000-2009 in the area of health promotion and prevention within the chronic illness population. The studies of chronic illness, population, sample size, research design, theoretical framework, and the instruments applied were examined. Descriptive statistical analysis was performed using frequency and percentage profiles.
Results showed that they were 14 (15.5 %) from a total of 90 articles relevant to this review. Within the 14 studies, there were 9 studies of a descriptive nature (64.3%) with the sample size between 120–1,250 persons. Another 5 studies (35.7%) were quasi-experimental design with the sample size between 50-60 persons, divided into an experimental group and a comparison group. The studies of chronic illness dealt variously with the subjects of diabetes, chronic care givers, breast cancer, hypertension, arthritis, AIDS, thalassemia, and osteoporosis. The theoretical framework within the various studies employed the differing aspects of health promotion (Pender, 2002), empowerment (Gibson, 1995), theory of goal attainment, self care (Orem, 1991), self efficacy (Bandura, 1997), health hardiness (Polock,), self-help group concept, community capacity building, social-ecological model (Bronfenbrenner, 1981) and multi-sector concepts. The questionnaire, health assessment, and self-report form were used as instruments for data collection.
The tentative conclusions from findings indicated that research fund organizations should support health promotion and prevention in the high risk population of chronic illness, focusing particularly on family and community participation. The health field journals should enhance the publication capacity available for research articles from scholars in these areas and for the benefit of other interested parties.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)