การย้ายถิ่นของแพทย์: ประสบการณ์วิสัญญีแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา

Authors

  • นายแพทย์ สุวัฒน์ ศิลปสุวรรณ

Keywords:

-

Abstract

การย้ายถิ่นของแพทย์หรือที่เรียกว่า "ภาวะสมองไหล" เป็นผลรวมมาจากช่องว่างในอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่พัฒนาแล้วและการขาดความพึงพอใจในงานของประชากรจากประเทศก าลังพัฒนาเนื่องจากกระแสหลักผลักดันจากประเทศต้นทาง
และพลังจูงใจให้เกิดการย้ายถิ่นมาสู่ประเทศปลายทางเพื่อการประกอบอาชีพ มีหน้าที่การท างานที่ดีกว่าในเรื่องนี้ การย้ายถิ่นของแพทย์ที่มีขนาดใหญ่อาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งกับประเทศต้นทางและประเทศปลายทางผู้รับเข้า โดยมีการเสริมสร้างความแตกแยกช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศก าลังพัฒนา ขณะเดียวกันอรรถประโยชน์ทั้งประเทศต้นทางและปลายทางก็เกิดขึ้นและด ารงอยู่เช่นกัน จึงท าให้กระแสการย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า1,2ยังมีอย่างต่อเนื่องในยุคโลกาภิวัฒน์
ที่กระบวนทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนมาสู่ยุคบูรพาภิวัฒน์แล้วก็ตาม จุดหมายของการน าเสนอประสบการณ์ย้ายถิ่นของแพทย์ไทยไปสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1960 เพื่อเสนอแบบแผน ความตั้งใจในการย้ายถิ่นฐานของแพทย์ และปัจจัยก าหนด ตลอดจนผลสืบเนื่องตามมาจากการย้ายถิ่นเพื่อตั้งครอบครัวในถิ่นฐานใหม่ด้วยการพรรณนาและวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นผู้เขียนจบแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เมื่อ พ.ศ. 2512 เมื่อ 49 ปีมาแล้ว หลังจากจบการศึกษาแล้ว ได้เป็น Intern อยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
1 ปี และเป็นแพทย์ประจ าบ้าน (Resident) ที่แผนกศัลยศาสตร์ อีก 3 ปี ปี พ.ศ. 2516 ก็จบ พอดีภรรยาจบแพทย์ที่คณะเดียวกัน จึงมาศึกษาต่อที่ USAพร้อมกันผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิสัญญี(American Board Certified in Anesthesiology)
ส่วนภรรยาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโรคเด็กและเด็กเกิดใหม่ที่เกิดก่อนก าหนด (American Board Certifiedin Pediatrics, Perinatal-Neonatal Medicine)

Downloads

Published

2019-05-15

How to Cite

ศิลปสุวรรณ น. ส. (2019). การย้ายถิ่นของแพทย์: ประสบการณ์วิสัญญีแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา. Journal of Public Health Nursing, 32(1), 1–10. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/189293

Issue

Section

Research Articles