การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ห้องผ่าตัด ในเวลาราชการของโรงพยาบาลชลบุรี

Authors

  • ดาราณี พฤกษ์สรนันทน์
  • โสภิต เจนจิรวัฒนา

Keywords:

วงจรเดมมิ่ง, ห้องผ่าตัด, การใช้ประโยชน์, Deming’s cycle, Operating rooms, Utilization

Abstract

ประสิทธิภาพของการใช้ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ  ในปัจจุบันยังเป็นปัญหาอุปสรรค

ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ75 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ห้องผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้แนวคิดของเดมมิ่ง ศึกษาจากทีมสหสาขาด้านการพยาบาลและงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 35 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดจำนวน 14 ห้อง ตั้งแต่เดือนเมษายน – มิถุนายน 2560 โดยใช้การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบเก็บข้อมูล  การเริ่มผ่าตัดผู้ป่วยรายแรกของวัน การใช้เวลาในห้องผ่าตัด  ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยผ่าตัดรายใหม่ต่อจากผู้ป่วยผ่าตัดรายก่อนหน้านั้น และการงด/เลื่อนการผ่าตัด  2) โปรแกรมการเพิ่มประสิทธิภาพของวงจรเดมมิ่ง ประกอบด้วยการวางแผน(Plan ) การทดลองปฏิบัติ (Do) การตรวจสอบ (Check ) และการปรับปรุง (Act ) ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังการใช้โปรแกรมด้วย Paired t-test

            ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้โปรแกรมปรับปรุงการใช้ห้องผ่าตัด มีประสิทธิภาพการใช้ห้องผ่าตัดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ก่อนและหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยร้อยละการใช้ห้องผ่าตัดเท่ากับ 63.31 และ 73.29 ตามลำดับ และจำนวนห้องผ่าตัดย่อยที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 สูงขึ้นจาก 7.14% เป็น 42.86% ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยผ่าตัดรายใหม่ต่อจากผู้ป่วยผ่าตัดรายก่อนหน้านั้น ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการเริ่มต้นผ่าตัดผู้ป่วยรายแรกของวันในช่วงเวลา 8.00-9.00 น. พบว่าไม่แตกต่าง เช่นเดียวกับอัตราการงด/เลื่อนการผ่าตัดในเวลาราชการพบว่า ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 12.37 เป็น 11.31  สาเหตุปัญหาจากด้านแพทย์ที่ไม่สามารถทำผ่าตัดได้ทันตามเวลา เนื่องจากผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคและอาการแทรกซ้อนแตกต่างกัน ด้านผู้ป่วยและญาติเตรียมตัวไม่พร้อม และระบบบริหารจัดการในการนัดผู้ป่วยผิดวัน สิทธิบัตรการรักษาไม่ผ่าน 

            ดังนั้น ในการศึกษานี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรงานผ่าตัดด้วยการใช้โปรแกรมการปรับปรุงงานตามแนวคิดเดมมิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนาในการดำเนินงานการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยต่อไป

 Improving efficiency of operating rooms utiliation during official hours in Chonburi hospital 

Efficiency of the using operating rooms in tertiary hospitals has not been passed the standard criteria of 75%. This study aimed to improve the efficiency of the utilization of operating rooms to be more effective by using the concept of Deming cycle. Thirty-five participants were from multidisciplinary including nursing and related fields working in the 14 operating rooms from April to June. Participatory workshops were implemented within a month. Tools were 1. record forms: starting time on the operating first patient of each day, spending time in the operating room, waiting time of a new surgery patient from a previous surgery patient, and cancellation/postponing surgery and 2. program enhancements of the Deming cycle consists of Plan, Do, Check and Act. The data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation. Paired t –test was used to compare the efficiency of the program implementation. Results showed that after implementation the efficiency of operating room utilization was greater significantly (p<.05), in which before and after implementation the percentage of the room utilization were 63.31 and 73.29, respectively. Also, the number of minor operating theaters passing the standard criteria at 75 percent increased from 7.14% to 42.86% after training implementation. In addition, the waiting time from a new patient from a previous patient decreased significantly (p<.05). However, the starting time of the first case of the day during 8:00-9:00 am. was not different. Similar to the overall cancellation/postponing rate of operation slightly decreased from 12.37% to 11.31% before and after training implementation, respectively. The causes were mainly from surgeons who cannot do surgery on time because of the severity of the disease and their difference complication, the patients and their relatives are not well prepared and error from administrative system such as wrong patient appointments and types of government health cards. Here this study indicates the benefit of operating staff development based on a job improvement program of the Deming concept to increase the efficiency of development in the operation of patient surgeries in the future.

 

Downloads

Published

2017-12-06

How to Cite

พฤกษ์สรนันทน์ ด., & เจนจิรวัฒนา โ. (2017). การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ห้องผ่าตัด ในเวลาราชการของโรงพยาบาลชลบุรี. Journal of Public Health Nursing, 31(2), 165–182. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/105031

Issue

Section

Research Articles