การถอดบทเรียนโครงการแก้ปัญหาสุขภาพโดยชุมชมเป็นฐาน

Authors

  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
  • จริยา แห่งสันเทียะ
  • อี๊ดยังวัน ยงย่วน
  • นิตยาภา นิธิสมบัติ
  • สำเนา อิ่มอ่อง

Keywords:

การถอดบทเรียน, โครงการแก้ปัญหาสุขภาพโดยชุมชมเป็นฐาน, ทุนสังคม, ความจำเป็นทางสุขภาพ, Lessons learned, Community-based health project, Social capital, Health needs assessment

Abstract

แนวคิดบริการสุขภาพระดับอำเภอได้นำสู่การปฏิบัติในโครงการแก้ปัญหาสุขภาพโดยชุมชมเป็นฐาน ผ่านการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในอำเภอ การดำเนินงานอยู่ในระยะเริ่มต้น ดังนั้นการประเมินการทำงานด้วยการถอดบทเรียนจึงมีความสำคัญ การวิจัยถอดบทเรียนนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการทำงานโครงการแก้ปัญหาสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2558 และ 2) เพื่อค้นหาปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินงานดำเนินงานโครงการฯ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ภาคประชาชน 2) ภาคท้องถิ่น และ 3) ภาคสาธารณสุข ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 42 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการทำงานของโครงการแก้ปัญหาสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เริ่มจากการรับนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุข โดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้เริ่มต้นของการทำงาน มีการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ทำการค้นหาทุนทางสังคม การค้นหาความจำเป็นทางสุขภาพ ออกแบบวิธีการและกิจกรรมร่วมกัน และออกแบบการติดตามประเมิน ในส่วนของปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการวางแผนส่งเสริมสุขภาพในการแก้ปัญหาสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน คือ ภาวะผู้นำ การสื่อสารในทีมสุขภาพอำเภอ การค้นหาทุนทางสังคมของพื้นที่ และการสร้างบทบาทภาคประชาชนในบริการสุขภาพอำเภอ ส่วนอุปสรรค ได้แก่ ความไม่ชัดเจนของบทบาทในการทำงานร่วมกันของแต่ละภาคส่วน และเวลาที่จำกัด และมีข้อเสนอแนะจากการทำงาน คือการจัดให้มีเวทีในการติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง

ผลการถอดบทเรียนแสดงให้เห็นว่ากระบวนการทำงานของโครงการฯ นี้มีการนำวิธีการค้นหาทุนทางสังคม การค้นหาความจำเป็นทางสุขภาพ และข้อมูลชุมชนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมซึ่งแต่เดิมเป็นการทำงานที่เน้นปัญหาสุขภาพในภาคส่วนสาธารณสุข

Lessons learned from a community-based health project

The concept of a district health system was translated into action by a community health project (CHP) through collaborative of all sectors in a district. This CHP was in the initiation phase, therefore performing an evaluation of lessons learned was crucial. The aims of this study were: 1) to explore the processes of implementing a CHP of Phompiram district health system, Phitsanulok province during 1 January to 31 Decemeber, 2015, and 2) to identify success, barriers and recommendations for implementing CHP. Key informants included: 1) community participants, 2) the local organizational sector, and 3) the healthcare sector who were invited to participate in this project by purposive sampling, with a totally of 42 participants. Data were collected by semi-structured interview questionnaire. Data was analyzed by content analysis. Results showed that the CHP was initiated from the Ministry of Public Health’s policy. The project was made actionable by the change agent who was the key person in translating the policy into practice. The change agent was communicating both informal and formal communications among stakeholders in community, identifying social capital, assessing health needs, designing methods and activities, and establishing an evaluation intervention cover process and outcome indicators. Successful factors regarding the process of health promotion planning in improving health by community based approach were leadership, communication of the district health team, social capital and engaging participants in roles of the district health system. Barriers included the ambiguous roles of inter-collaborations among sectors and time constraints. A recommendation was to provide forum meetings to monitor task continuity. The contributions of this CHP identify community assets, assess local health needs, and use community data to solve community health problems. This CHP is a participative approach rather than a traditional approach which emphasis on health problem that involves only in health sector.

Downloads

Published

2017-12-06

How to Cite

กิจธีระวุฒิวงษ์ น., แห่งสันเทียะ จ., ยงย่วน อ., นิธิสมบัติ น., & อิ่มอ่อง ส. (2017). การถอดบทเรียนโครงการแก้ปัญหาสุขภาพโดยชุมชมเป็นฐาน. Journal of Public Health Nursing, 31(2), 145–164. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/105026

Issue

Section

Research Articles