ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาฬสินธุ์

Authors

  • สุรีรัตน์ เวียงกมล
  • พรนภา หอมสินธุ์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์

Keywords:

การสูบบุหรี่ระยะแรก, ต้นทุนชีวิต, นักเรียนประถมศึกษา, Early smoking stage, Life assets, Upper primary school students

Abstract

การสูบบุหรี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น ยังเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย เนื่องจากมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และเริ่มต้นสูบที่อายุลดลง การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการสูบบุหรี่ ต้นทุนชีวิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะแรกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนทั้งหมด 390 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของการสูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ต้นทุนชีวิต และแบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Binary logistic regression

               ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการสูบบุหรี่ในระยะแรก ร้อยละ 43.0 สำหรับต้นทุนชีวิตซึ่งประกอบด้วย พลัง 5 ด้าน ได้แก่ พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน กลุ่มตัวอย่างมีต้นทุนชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 73.5) เมื่อพิจารณาต้นทุนชีวิตตามพลังด้านต่าง ๆ ทั้ง 5 ด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีต้นทุนชีวิตด้านพลังครอบครัวและพลังตัวตนอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 84.5 และร้อยละ 83.3 ตามลำดับ) พลังเพื่อนและกิจกรรมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 72.5) พลังชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.9) และพลังสร้างปัญญาอยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 58.1) และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสูบบุหรี่ของบุคคลใกล้ชิด (AOR = 3.37, 95% CI = 1.09-10.44) การเข้าถึงบุหรี่ (AOR = 2.86, 95% CI = 1.75-4.68) ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ (AOR = 2.75, 95% CI = 1.09-6.95) การรับรู้ความ สามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (AOR = 2.47, 95% CI = 1.52-4.00) พลังครอบครัว (AOR = 1.94, 95% CI = 1.18-3.18) พลังเพื่อนและกิจกรรม (AOR = 1.42, 95% CI = 1.17-1.74) พลังตัวตน (AOR = 1.24, 95% CI = 1.04-1.48) และพลังชุมชน (AOR = 1.15, 95% CI = 1.03-1.30) ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อพยาบาล บุคลากรสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโปรแกรมฯที่เน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ร่วมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้นชายต่อไป

Life Assets and Factors Related to Early Smoking Stage among Male Upper Primary School Students, Kalasin Province

Smoking, especially among adolescents, is an important problem in Thai society since prevalence is increasing and age of initiation is decreasing. This study is correlational research. The purposes of this study were to identify the prevalence of smoking at an early stage of life, life assets, and factors related to early smoking among male upper primary school students. Participants were 390 male elementary students in Kalasin province. They were randomly selected using cluster random sampling. Questionnaires collected demographic data, environmental data, and attitudes toward smoking, smoking refusal self-efficacy, life assets, and smoking overall. Statistics used included mean, percentage, standard deviation, and binary logistic regression which were used in data analysis. Findings showed an early smoking stage prevalence of 43.0%. Life assets included 5 powers; power of self, power of family, power of wisdom, power of peer and activity, and power of community. Participants overall life assets were at a good level (73.5%). Among the 5 powers, power of family and power of self were at a very good level (84.5% and 83.3% respectively); power of peer and activity was at a good level (72.5%); power of community was at a moderate level (68.9%); and power of wisdom did not meet even a basic level. Significant factors related to early smoking stage among male upper primary school students were that close friends smoked (AOR = 3.37, 95% CI = 1.0910.44), cigarette accessibility (AOR = 2.86, 95% CI = 1.75-4.68), attitudes toward smoking (AOR = 2.75, 95% CI = 1.09-6.95), smoking refusal self-efficacy (AOR = 2.47, 95% CI = 1.524.00), power of family (AOR = 1.94, 95% CI = 1.18-3.18), power of peer and activity (AOR = 1.42, 95% CI = 1.17-1.74), power of self (AOR = 1.24, 95% CI = 1.04-1.48), and power of community (AOR = 1.15, 95% CI = 1.03-1.30). Results should be beneficial to nurses and other health personnel who are involved in the prevention and reduction of smoking initiation among male adolescents.

Downloads

Published

2017-12-06

How to Cite

เวียงกมล ส., หอมสินธุ์ พ., & ศรีสุริยเวศน์ ร. (2017). ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาฬสินธุ์. Journal of Public Health Nursing, 31(2), 89–108. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/105018

Issue

Section

Research Articles