ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในนักเรียนสายวิชาชีพ โรงเรียนจิตรลดา(สายวิชาชีพ)

Authors

  • ช่อจิต หรั่งศิริ
  • เพลินพิศ สุวรรณอำไพ
  • อรวรรณ แก้วบุญชู
  • พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ
  • แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ

Keywords:

นักเรียนสายวิชาชีพ, พฤติกรรมความปลอดภัย, บรรยากาศความปลอดภัย, แรงจูงใจ, ความรู้, Vocational Student, Safety Behavior, Safety Climate, Motivation, Knowledge

Abstract

วัยรุ่น เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการทำงานได้มากกว่าแรงงานในกลุ่มอายุอื่น นักเรียนในระดับอาชีวศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อนำไปประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพในด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เป็นอนาคตของแรงงานสำคัญที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะฝึกปฎิบัติงานในโรงเรียนและในการทำงานได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา(สายวิชาชีพ)กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนสายวิชาชีพที่กำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1-3 ทั้งหมดของโรงเรียน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น  378  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้ตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test  ANOVA และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสถิติการถดถอยแบบพหุขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนสายวิชาชีพมีคะแนนรวมด้านพฤติกรรมความปลอดภัยอยู่ในระดับสูง ( = 4.11, S.D. = 0.49) การรับรู้บรรยากาศความปลอดภัยในโรงเรียนในระดับสูง ( = 2.52, S.D. = 0.33) คะแนนรวมด้านแรงจูงใจเรื่องความปลอดภัยในระดับสูงที่สุด ( = 4.31, S.D. = 0.51) และคะแนนรวมด้านความรู้เรื่องความปลอดภัยในระดับสูง ( = 12.37, S.D. = 3.15) ปัจจัยด้านแรงจูงใจด้านความปลอดภัย บรรยากาศความปลอดภัยในโรงเรียน ความรู้เรื่องความปลอดภัย ระดับชั้นปีการศึกษา และเพศ สามารถทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยของนักเรียนสายวิชาชีพ ได้ ร้อยละ 35 ตัวแปรที่สามารถอธิบายพฤติกรรมความปลอดภัยของนักเรียนสายวิชาชีพได้ดีที่สุด คือ แรงจูงใจด้านความปลอดภัย ตามด้วยตัวแปรด้านบรรยากาศความปลอดภัยในโรงเรียน และน้อยที่สุดคือ ความรู้เรื่องความปลอดภัย

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า โรงเรียนสายวิชาชีพควรจัดบรรยากาศความปลอดภัยในโรงเรียน สร้างแรงจูงใจด้านความปลอดภัย และให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงจัดให้มีการศึกษารายวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้กับนักเรียนสายวิชาชีพ เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมความปลอดภัย

Factors Associated with Safety Behavior among Vocational Students in the Vocational Program at Chitralada Vocational School

than older workers. Students in vocational school, being prepared for work in the industry and technology sectors are also more likely to be injured on the job or when working in a workshop at school. The objective of this study was to examine factors associated with safety behaviors among vocational school students in Bangkok. The study subjects were 378 vocational certificate, grade 1-3 students in a vocational school in Bangkok. Data were collected using self-administered questionnaire and assessed descriptively by mean and standard deviation. The relationship between personal factors, antecedent factors (School safety environment), determinant factors (Safety knowledge and Motivation) and safety behaviors were examined using Chi-Square test, Pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression analysis.

            Results showed that the overall safety behaviors in vocational students was at a high level (Mean = 4.11, S.D. = .49), the perception of a safety environment at school was at a high level (Mean = 2.52, S.D. = .33), safety motivation was at the highest level (Mean = 4.31, S.D. = .51) and safety knowledge was at a high level (Mean = 12.37, S.D. = 3.15) Multiple regression analysis showed that safety motivation, school safety environment, safety knowledge, grade, and sex could explain 35% of safety behavior of vocational students by 35% with safety motivation the best predictor of safety behavior, followed by safety environment and safety knowledge the least predictor.

The findings suggest that vocational schools should provide a climate of safety, encourage safety motivation and include occupational health and safety education in the curriculum in order to develop thoughts and behaviors of safety.

Downloads

Published

2017-12-06

How to Cite

หรั่งศิริ ช., สุวรรณอำไพ เ., แก้วบุญชู อ., ศิลปสุวรรณ พ., & จิระพงษ์สุวรรณ แ. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในนักเรียนสายวิชาชีพ โรงเรียนจิตรลดา(สายวิชาชีพ). Journal of Public Health Nursing, 31(2), 59–72. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/104968

Issue

Section

Research Articles