ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Authors

  • แพรวนภา บุญประถัมภ์
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, นักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, Depression, tudents, tended opportunity chools

Abstract

ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่พบได้ในวัยรุ่นและเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนที่ขยายโอกาส ส่วนใหญ่ขาดทุนทรัพย์ และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งอาจมีปัจจัยที่หลากหลายที่จะส่งผลกระทบของวัยรุ่นได้ โดยที่การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดอัตโนมัติทางลบเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 289 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีใช้แบบสอบถาม โดยแบบวัดที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความคิดอัตโนมัติทางลบแบบสอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ แบบประเมินการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบประเมินเกี่ยวกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และแบบประเมินเกี่ยวกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ ได้ค่าความเชื่อมั่นครอนบาคแอลฟา เท่ากับ .85, .93, .96, .96, .90 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ

              ผลการวิจัยพบว่า ความคิดอัตโนมัติทางลบ เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ และพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01     (r = .390, .178 และ .226 ตามลำดับ) โดยปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้แก่ ความคิดอัตโนมัติทางลบ (β= .363, p <.01) และพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ (β= .165, p <.05) โดยสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาได้ร้อยละ 17.9 (R2 = .179, p < .05)

              จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลนักเรียนเหล่านี้ควรพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมที่ช่วยปรับเปลี่ยนความคิดอัตโนมัติทางลบและส่งเสริมรูปแบบการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมเพื่อลดและป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักเรียนเหล่านี้

Factors Influencing Depression among Adolescents in Extended Opportunity Schools

Depression found among adolescents is associated ith multiple factors. he purposes of this study were to examine depression and factors influencing it among adolescents in etended opportunity schools. ubjects consisted of students from extended opportunity schools located in Bangpli district, amutprakran province. esearch instruments included self-reported questionnaires to gather data regarding students’ demographic characteristics, depression measures using children s depression inventory form, assessment of negative automatic thought using a negative automatic thought evaluation form, negative event eperience using a negative events scale and evaluation form, the Personal esource uestionnaire to evaluate social support (P Part , measures of problem solving using the problem solving behaviors evaluation form and emotional problem-solving using an emotional problem-solving behaviors evaluation form. hese scales yielded Cronbachs alpha coefficients of ., ., ., ., . and ., respectively. he data ere analyed using descriptive statistics and stepise multiple regression. he findings revealed that negative automatic thought, negative life events, and emotion-focused problem-solving behaviors positively correlated with depression at a significant level of . (r ., ., and ., respectively).Factors that could significantly predict depression among these students ere negative automatic thought (β ., p .) and emotion-focused problem-solving behaviors (β ., p .). hese to predictors accounted for . of the variance for depression (R ., p .) Results suggest that those ho are involved in caring for students from etended opportunity schools could develop activities or programs aimed at modifying negative automatic thoughts and promoting proper problem-solving behaviors in order to prevent and reduce depression among students.

Downloads

Published

2017-12-06

How to Cite

บุญประถัมภ์ แ., เฮงอุดมทรัพย์ ภ., & วัฒนสินธุ์ ด. (2017). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. Journal of Public Health Nursing, 31(2), 43–58. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/104966

Issue

Section

Research Articles