ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Authors

  • เลอลักษณ์ มหิพันธุ์
  • ชนัดดา แนบเกษร
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์

Keywords:

สุขภาวะทางปัญญา, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, spiritual well-being, caregivers, schizophrenic patients

Abstract

โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทต้องทำหน้าที่ดูแลและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องมีพลังในการประคับประคองชีวิตของตนเองเพื่อความผาสุกในชีวิต โดยเฉพาะสุขภาวะทางปัญญา การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ความยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักศาสนา ภาระการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม กับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดสุขภาวะทางปัญญา แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดความยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักศาสนา แบบวัดภาระการดูแล และแบบวัดการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .83, .71, .91, .90 และ.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation statistics)

            ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาวะทางปัญญาโดยรวมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท อยู่ในระดับปานกลาง ความยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักศาสนา การสนับสนุนทางสังคม และอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 (r = .636, .448 และ .200 ตามลำดับ) ส่วนภาระการดูแล และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในระดับที่กำหนด

            บุคลากรทางสุขภาพสามารถใช้ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ด้วยการสร้างเสริมความยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักศาสนา และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Factors Related to Spiritual Well-Being among Caregivers of Schizophrenic Patients

Schizophrenia is a chronic illness that requires continuous care. Caregivers need to take care of and interact with these patients. Caregivers need the power to support their own lives and well-being, especially their spiritual well-being. The purpose of this descriptive correlational research was to study the relationship of factors including age, faithfulness to religious practice, burden, social support, and knowledge of caring for patients with schizophrenia with spiritual well-being among caregivers of patients with schizophrenia. A purposive sampling was used to select the caregivers of schizophrenic patients from one particular psychiatric hospital (n = 100). Data collection was conducted from personal information records, and five self-reported questionnaires including one on spiritual well-being, faithfulness to religious practice, burden, social support, and knowledge of caring for patients with schizophrenia. The reliability coefficients of these five questionnaires were, .83, .91, .90, .85, and .71 respectively. Descriptive statistics and Pearson product-moment correlation coefficient were employed in data analysis. Results revealed that the average score of total spiritual well-being was at a moderate level. Spiritual well-being was significantly correlated with faithfulness to religious practice, social support, and age at p-values < .01 and .05 (r = .636, .448 and .200 respectively).The knowledge of caring for patients with schizophrenia and burden were not significantly correlated with spiritual well-being among these caregivers. Health professionals may apply these results to serve as baseline data for the development of interventions aimed at enhancing spiritual well-being among caregivers through promoting caregivers’ faithfulness to religious practice and social support.

Downloads

Published

2017-12-06

How to Cite

มหิพันธุ์ เ., แนบเกษร ช., & วัฒนสินธุ์ ด. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. Journal of Public Health Nursing, 31(2), 29–42. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/104957

Issue

Section

Research Articles