ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
Keywords:
การจัดการรายกรณี, ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน, ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, Case management, Older people, Diabetic retinopathy, Perceived self-care agency, Self-care behaviorAbstract
เบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ทำให้เกิดภาวะตาบอดและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยและครอบครัวการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาซึ่งประยุกต์ทฤษฏีระบบการพยาบาลแบบ สนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็มกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 25 คน โปรแกรมการจัดการรายกรณี 12 สัปดาห์นี้ ประกอบด้วย กิจกรรมการให้ความรู้ การประเมินและวางแผนการดูแลร่วมกัน การให้คำปรึกษา การเยี่ยมบ้าน และการโทรศัพท์ติดตาม เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ คู่มือการจัดการรายกรณี แผนการดูแลผู้ป่วย คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและครอบครัวเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired t-test ภายหลังการทดลองพบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-vale <0.01) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า (Fasting plasma glucose :FPG ) ลดลงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-vale <0.01) ในขณะที่ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) และระดับความดันซิสโตลิกไม่แตกต่างกันผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนว่าโปรแกรมการจัดการรายกรณีที่ประยุกต์ทฤษฏีระบบพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็มมีผลต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้
Effect of a Case Management Program for Older People with Diabetic Retinopathy
Diabetic retinopathy is a common complication of Diabetes Mellitus (DM), leading to blindness and impacts on quality of life, including physical, mental, and socioeconomic status among patients and their families. This one-group, quasi-experimental study was conducted to examine the effects of a case management program applying Orem’s nursing system theory for older people with diabetic retinopathy. The subjects were 25 older persons with diabetic retinopathy diagnosis from a primary care unit in Nonthaburi Province. The experimental group participated in a 12-week case management program, which applied Orem’s nursing system theory. The program consisted of health education, health assessment, a clinical pathway, individual counseling, a home visit, telephone follow up, with assessment of perceived self-care agency and self-care behavior. Hemoglobin A1C (HbA1C) levels, fasting plasma glucose (FPG) and blood pressure were assessed before and after the program.Each subject was interviewed by the researcher about general characteristics, perceived self-care agency and self-care behavior. Data were analyzed using paired t-test. After the intervention, the mean scores of perceived self-care agency and self-care behavior of the older people with diabetic retinopathy were significantly higher than those before the experiment at a p-value of< 0.01. FPG was significantly lower than before the intervention at a p-value of < 0.01. However, there was no significant difference in Hemoglobin A1C (HbA1C) level or systolic blood pressure before and after the intervention. The results support the case management program since applying Orem’s nursing system theory did improve perceived self-care agency, self-care behavior, and FPG among older people with diabetic retinopathy. This type of intervention should be adapted for use in primary care units to promote health outcomes among older people with other chronic diseases.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)