ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ในวัยรุ่นชายไทย ที่รับเข้าเป็นทหารกองประจำการ

Authors

  • ธนันณัฏฐ สิงห์วิเศษ
  • พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ
  • ปรารถนา สถิตย์วิภาวี
  • ราม รังสินธุ์

Keywords:

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์, วัยรุ่นชายไทย, ทหารกองประจำการ, การใช้สารเสพติด

Abstract

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ คือ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน และการไม่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ นำมาซึ่งการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์และการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นชายไทย  ที่รับเข้าเป็นทหารกองประจำการ  ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา (Problem Behavior Theory) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกลักษณะส่วนบุคคล  การรับรู้สิ่งแวดล้อม การขัดเกลาทางสังคม และการใช้สารเสพติด โดย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชายไทยที่รับเข้าเป็นทหารกองประจำการ จำนวน 235 คน  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และแบบบันทึก (ตรวจสารเสพติด ในปัสสาวะ, ตรวจโลหิตวิทยาและตรวจร่างกายทั่วไป) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ระดับสูงและต่ำ ร้อยละ 79.6 และ 20.4 ตามลำดับ พบความชุกของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 1.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่ สถานภาพสมรส การดื่มสุรา ปัจจัยด้านบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้สิ่งแวดล้อมและการขัดเกลาทางสังคมด้านครอบครัว และประวัติการเคยใช้สารเสพติด (p-value < 0.05) สถานภาพสมรส การดื่มสุรา ปัจจัยด้านบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล และประวัติการเคยใช้สารเสพติดสามารถทำนายการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ได้ ร้อยละ 18.0 ดังนั้น ควรป้องกันการดื่มสุราและการใช้สารเสพติด  เฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง ปรับทัศนคติด้านการรู้คิดของบุคคล เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์และการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Downloads

How to Cite

สิงห์วิเศษ ธ., ศิลปสุวรรณ พ., สถิตย์วิภาวี ป., & รังสินธุ์ ร. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ในวัยรุ่นชายไทย ที่รับเข้าเป็นทหารกองประจำการ. Journal of Public Health Nursing, 31, 139–162. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/100988

Issue

Section

Research Articles