ผลการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคกระจกตาอักเสบจากการใช้เลนส์สัมผัส ในนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • อนงค์นุช สารจันทร์
  • วันเพ็ญ แก้วปาน
  • ปาหนัน พิชยภิญโญ
  • จุฑาธิป ศีลบุตร

Keywords:

เลนส์สัมผัส, โรคกระจกตาอักเสบ, ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค

Abstract

ปัจจุบันปัญหาโรคกระจกตาอักเสบจากการใช้เลนส์สัมผัส เป็นปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากมีพฤติกรรมการใช้เลนส์สัมผัสที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนสูญเสียดวงตา   ในที่สุด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคกระจกตาอักเสบจากการใช้เลนส์สัมผัสของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้ระยะเวลา 3 สัปดาห์และระยะติดตาม 2 สัปดาห์ โดยการสอน การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การใช้ตัวแบบ และการสื่อสารโดยใช้โปรแกรมไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ซึ่งสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนทดลอง         หลังทดลองและระยะติดตามผล และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ Repeated Measure ANOVA และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคกระจกตาอักเสบ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคกระจกตาอักเสบ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองจากการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคกระจกตาอักเสบ ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง      ในการป้องกันโรคกระจกตาอักเสบ และพฤติกรรมการป้องกันโรคกระจกตาอักเสบ ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)

Downloads

How to Cite

สารจันทร์ อ., แก้วปาน ว., พิชยภิญโญ ป., & ศีลบุตร จ. (2017). ผลการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคกระจกตาอักเสบจากการใช้เลนส์สัมผัส ในนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Public Health Nursing, 31, 113–138. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/100852

Issue

Section

Research Articles