ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ศศิมา ชีพัฒน์
  • เพลินพิศ สุวรรณอำไพ
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล

Keywords:

โปรแกรมการพยาบาล, พลัดตกหกล้ม, การป้องกัน, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมในการดูแลตนเอง, ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็ม

Abstract

การพลัดตกหกล้มเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแล ซึ่งการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในชุมชนเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร จำนวน 61 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 70 – 79 ปี มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ       ในระดับที่สามารถดูแลตัวเองได้ดี และมีสมรรถนะของการรู้คิดในระดับปกติ  โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 28 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็ม (Self-care deficit) ประกอบด้วยกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม สาธิตและฝึกทักษะการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการทรงตัว ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ให้ความรู้ในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุแก่ครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent  t-test และ Paired t-test 

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ซึ่งสนับสนุนการนำโปรแกรมการพยาบาลไปประยุกต์ใช้ในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดพฤติกรรมในการดูแลตนเองในเรื่องการป้องกันการหกล้ม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดภาวะพึ่งพิง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น

Downloads

How to Cite

ชีพัฒน์ ศ., สุวรรณอำไพ เ., & รวิวรกุล ท. (2017). ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Public Health Nursing, 31, 97–112. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/100850

Issue

Section

Research Articles