ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
Keywords:
ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยเบาหวานเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, พฤติกรรมAbstract
โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญ ถ้ามีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยก็จะทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 390 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโลจิสติก (Stepwise Multiple Logistic Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 74.9 (292 คน) และมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 25.1 (98 คน) ในจำนวนนี้มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 21.3 (83 คน) และระดับปานกลางร้อยละ 3.8 (15 คน) โดยเพศหญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย ร้อยละ 78.6 ( 77 คน ) และ ร้อยละ 21.4 (21 คน) ตามลำดับ ทั้งนี้พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมการควบคุมอาหาร (OR=2.56,95%CI=1.34– 4.90) พฤติกรรมการจัดการความเครียด (OR=4.45,95%CI=2.33– 8.52) และพฤติกรรมการรับประทานยา (OR=3.03, 95%CI=1.37– 6.91) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมการควบคุมอาหาร พฤติกรรมการจัดการความเครียดและพฤติกรรมการรับประทานยา
จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)