ปัจจัยทำนายความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • กณิฐา ตุ้ยดา
  • พัชราพร เกิดมงคล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล

Keywords:

การฟื้นหาย, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ดูแล, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

Abstract

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก เป็นสาเหตุของความพิการและต้องการ       การดูแลในระยะยาว ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเป็นปัจจัยที่สำคัญในการคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถ            ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัย  ในชุมชนของกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านจากศูนย์บริการสาธารณสุข และผู้ดูแลจำนวน 117 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Barthel Index) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (PHQ-9) แบบประเมินการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย และแบบประเมินความต้องการการดูแล ผู้วิจัยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์และการถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย (56.4%) อายุเฉลี่ย 65.31 ปี (SD=12.14) จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด (58.1%) มีระยะเวลาการเจ็บป่วยตั้งแต่ 3 ถึง 17 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (91.5%) มีโรคประจำตัว โดยพบโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ส่วนภาวะแทรกซ้อน พบข้อติดแข็งมากที่สุด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ เพศ ภาวะแทรกซ้อน ระดับคะแนนบาร์เทล (Barthel Index) และความต้องการการดูแลของผู้ดูแล ปัจจัยที่สามารถทำนายความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (ORadj= 3.93, p < 0.05) ภาวะแทรกซ้อน (ORadj= 0.14, p < 0.05) โรคประจำตัว (ORadj= 0.06, p< 0.05) คะแนนบาร์เทล ที่ประเมินครั้งแรก (ORadj= 9.67, p< 0.05) และความต้องการการดูแลของผู้ดูแล (ORadj= 0.17, p < 0.01)  

จากผลการศึกษาควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเพศหญิงและมีโรคประจำตัว นอกจากนี้ควรมีการประเมินความต้องการการดูแลของผู้ดูแลด้วย การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย ที่บ้าน 

Downloads

How to Cite

ตุ้ยดา ก., เกิดมงคล พ., อำนาจสัตย์ซื่อ ข., & รวิวรกุล ท. (2017). ปัจจัยทำนายความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในกรุงเทพมหานคร. Journal of Public Health Nursing, 31, 27–42. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/100845

Issue

Section

Research Articles